การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operation Management)

ผู้เขียน: เกียรติศักดิ์ จันทร์แดง
ISBN: 974-94987-5-5
จำนวนหน้า: 312 หน้า
ขนาด: 19 x 24 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 175 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 160 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารงานทางด้านอุตสาหกรรม และการปฏิบัติการทางการผลิตและการบริหาร พร้อมตัวอย่างการคำนวณเพื่อแก้ปัญหาทางด้านอุตสาหกรรม และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เนื้อหาสำคัญภายในเล่ม มีอาทิ...
  • หลักการบริหารการผลิตและการปฏิบัติการซึ่งผู้บริหารควรรู้
  • วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิต ซึ่งสามารถทำได้จริง
  • การวางแผนวัสดุคงเหลือที่จะช่วยเพิ่มกำไรให้แก่องค์กร
  • การวางผังการดำเนินงาน เพื่อให้ระบบการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่น

หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง

  • นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
  • วิศวกรและผู้จัดการทางด้านการผลิต
  • ผู้บริหารงานทางด้านอุตสาหกรรม
  • ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการบริหารอุตสาหกรรมทั่วไป

เหมาะสำหรับเป็นหนังสือประกอบการเรียนในรายวิชาใดบ้าง

  • การจัดการการผลิต (Production Management)
  • การบริหารการผลิต (Operation Management)
  • การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operation Management)
  • รายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


บทที่ 1 บทนำสู่การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ (Introduction to Production and Operation Management)

การบริหารเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องพิจารณาในการดำเนินงาน ทั้งด้านการผลิตและการบริการ ผู้บริหารจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยนำเข้า และกระบวนการผลิต ไปจนถึงปัจจัยนำออก สิ่งเหล่านี้จะต้องสามารถวัดผลได้ จึงจะถือว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

  • การผลิตและการปฏิบัติการ
  • การจัดการการผลิตและการปฏิบัติงาน
  • การศึกษาด้านการบริหารการผลิตและการบริหารการปฏิบัติการ
  • องค์การกับการจัดการด้านการปฏิบัติงาน
  • แนวโน้มของการจัดการด้านการปฏิบัติงาน
  • การปฏิบัติการในส่วนของงานบริการ
  • ผลผลิต
  • การวัดผลผลผลิต
  • ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต
  • ผลผลิตและการบริการ

บทที่ 2 กลยุทธ์การดำเนินงานและการปฏิบัติงาน (Production and Operation Strategy)

การดำเนินงานด้านการผลิตหรือการบริการสำหรับธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ผู้บริหารนิยมใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การลดต้นทุน, การตอบสนองที่รวดเร็ว, การสร้างความแตกต่าง ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

  • การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี
  • ส่วนประกอบของกลยุทธ์การปฏิบัติการ
  • ข้อควรพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน
  • การบรรลุข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการ
  • การตัดสินใจในการบริหารการปฏิบัติการ 10 ประการ
  • ข้อคำนึงสำหรับกลยุทธ์การปฏิบัติการ
  • การพัฒนากลยุทธ์และการปฏิบัติการ
  • ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ
  • การสร้างและการจัดหาคนเข้าทำงานขององค์กร

บทที่ 3 การพยากรณ์ (Forecasting)

การพยากรณ์ เป็นวิธีการที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประมาณการล่วงหน้า เพื่อจะได้สามารถวางแผนการปฏิบัติงานและปรับกลยุทธ์ให้ตอบสนองกับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

  • ความหมายของการพยากรณ์
  • ประเภทของการพยากรณ์
  • เทคนิคการพยากรณ์
  • การพยากรณ์โดยวิธี Least Square
  • การพยากรณ์เชิงสหสัมพันธ์
  • วิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก
  • วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล

บทที่ 4 การวางแผนเลือกที่ตั้ง (Location Planning)

การเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจ ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงกับการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น เราต้องมาศึกษารายละเอียดของหลักการเกี่ยวกับเลือกทำเลที่ตั้งกันในบทนี้

  • ที่ตั้ง
  • บทบาทที่ตั้งต่อการดำเนินงาน
  • ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง
  • ขั้นตอนการเลือกที่ตั้ง
  • การคำนวณระยะทางในการขนส่ง
  • วิธีจุดศูนย์ดุลย์
  • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
  • กลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งสถานประกอบการด้านบริการ

บทที่ 5 การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management)

สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่งที่จะลืมเสียมิได้ คือ คุณภาพ หลักการและวิธีการจัดการคุณภาพ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อธุรกิจทั้งสิ้น ดังนั้น เราจะต้องการเลือกวิธีจัดการคุณภาพให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจที่สุด

  • มาตรฐานด้านคุณภาพ
  • การจัดการคุณภาพโดยรวม
  • ความพึงพอใจของลูกค้า
  • การมีส่วนร่วมของพนักงาน
  • การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • วงล้อเดมมิ่ง (Deming Cycle)
  • เครื่องมือการบริหารคุณภาพโดยรวม

บทที่ 6 การวางแผนกำลังการผลิต (Production Capability Planning)

ปัจจัยสำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการดำเนินงาน คือ กำลังการผลิต ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักสำคัญ คือ การประหยัดโดยขนาด เพื่อให้ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยได้ รวมถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่ส่งผลโดยตรงกับกำลังการผลิต ตลอดจนความสามารถในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการดำเนินการทางธุรกิจ

  • กำลังการผลิต
  • การวัดกำลังการผลิต
  • การวางแผนกำลังการผลิต
  • การประหยัดโดยขนาด
  • กลยุทธ์กำลังการผลิต
  • ขั้นตอนการตัดสินใจในเรื่องกำลังการผลิตอย่างเป็นระบบ
  • แผนภูมิการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
  • การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนเพื่อช่วยในการวางแผนกำลังการผลิต
  • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนกับการตัดสินใจในกระบวนการวางแผนการผลิต

บทที่ 7 การวางผังการดำเนินงาน (Operation Layout)

เครื่องมือหรือเครื่องจักรสำหรับงานผลิต เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติงาน เครื่องมือหรือเครื่องจักรจะต้องถูกจัดวางอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

  • การวางผังการดำเนินงาน
  • ชนิดของการวางผัง
  • การวางผังแบบผสม
  • การจัดวางผังตามกระบวนการ
  • การวางผังตามกระบวนการ
  • ผังสำนักงาน
  • การวางผังตามผลิตภัณฑ์

บทที่ 8 การวางแผนแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ (Labor and Human Resource Planning)

การจัดการแรงงานและทรัพยกรมนุษย์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากแรงงานหรือคน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดขององค์กร การจ่ายค่าแรง, การวางผังองค์กร, การจูงใจ และการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและให้มีผลกระทบกับจิตใจน้อยที่สุด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • โครงสร้างองค์กร
  • การวางแผนแรงงาน
  • การจูงใจ
  • การฝึกอบรม
  • การออกแบบงาน
  • มาตรฐานของงาน
  • วิธีการวัดงาน
  • การศึกษาเวลา

บทที่ 9 การวางแผนการผลิตรวม (Aggregate Planning)

การวางแผนการผลิตรวม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งก็เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือสามารถผลิตให้เพียงพอตามที่ได้พยากรณ์ไว้ กลยุทธ์ที่สำคัญในการวางแผนการผลิตรวม นอกเหนือจากการจ้างงานในเวลาปกติแล้ว ยังมีการจ้างงานล่วงเวลา และการส่งงานให้ผู้รับเหมาทำแทน ซึ่งล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องวางแผนเพื่อเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุด

  • การวางแผนการผลิตรวม
  • กระบวนการวางแผนการผลิตรวม
  • วัตถุประสงค์พื้นฐานของการแผน
  • การพิจารณาทางเลือกในการวางแผน
  • ลักษณะของการทำแผนการผลิตรวม
  • กลยุทธ์การวางแผนการผลิตรวม
  • วิธีการทำตารางแผนการผลิตรวม
  • ตัวแบบการขนส่งแบบโปรแกรมเชิงเส้นตรง
  • ตัวแปรสัมประสิทธิ์การบริการ
  • ตารางการผลิตรวมในธุรกิจบริการ

บทที่ 10 การบริหารวัสดุคงเหลือ (Inventory Management)

ในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นจะต้องมีการจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปไว้ในลักษณะของวัสดุคงคลัง เพื่อรอการผลิตหรือส่งขายให้แก่ลูกค้าต่อไป ดังนั้นการบริหารวัสดุคงคลังจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินงานมีต้นทุนในการจัดการกับวัสดุคงคลังต่ำที่สุดนั่นเอง

  • การจัดการวัสดุ
  • หน้าที่ของการจัดการวัสดุ
  • การจัดหาวัตถุดิบ
  • วัสดุคงเหลือ
  • หน้าที่ของวัสดุคงเหลือ
  • ประเภทของวัสดุคงเหลือ
  • ผลกระทบจากความไม่สมดุลในการจัดการวัสดุคงเหลือ
  • การบริหารวัสดุคงเหลือ
  • การวัดปริมาณวัสดุคงเหลือ
  • ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด

บทที่ 11 การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning)

วัตถุดิบหรือวัสดุกึ่งสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการผลิตนั้น ส่วนมากต้องมีการจัดการให้เหมาะสมกับความต้องการในการผลิต และเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการจัดเก็บเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ดังนั้นการวางแผนความต้องการวัสดุหรือระบบ MRP จึงเข้ามามีบทบาทในการจัดการกับความต้องการวัสดุในปัจจุบัน

  • การวางแผนความต้องการวัสดุ
  • ประโยชน์ของ MRP
  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการวัสดุ
  • โครงสร้างการวางแผนความต้องการวัสดุ
  • การบริหารการวางแผนความต้องการของวัสดุ
  • ปัจจัยในการวางแผน
  • การทำงานของระบบ MRP
  • การวางแผนทรัพยากรด้านการจัดจำหน่าย

บทที่ 12 ระบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Production Systems for Added Performance)

การดำเนินงานด้านการผลิตหรือบริการในปัจจุบัน ล้วนมีการแข่งขันค่อนข้างสูง หลายธุรกิจจึงแสวงหาวิถีทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ระบบ JIT (Just In Time), ระบบ Kanban และระบบลีน เป็นระบบที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้เป็นอย่างดี

  • ระบบทันเวลาพอดี
  • ระบบ JIT กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • ระบบ JIT ในการบริการ
  • การประยุกต์ระบบ JIT
  • ระบบ Kanban
  • ระบบการผลิตแบบลีน

บทที่ 13 การบริหารโครงการ (Project Management)

กิจกรรมย่อยในการดำเนินงานอาจเรียกได้ว่าโครงการ ซึ่งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนิยมทำงานเป็นโครงการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการให้ง่ายขึ้น โดยการศึกษาถึงการวางแผนโครงการและการควบคุมโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้นไว้เป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งการศึกษาเส้นทางวิกฤติของงาน และการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของโครงการ รวมทั้งการเร่งรัดโครงการ ก็เป็นวิธีการที่ต้องศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

  • ความสำคัญของกลยุทธ์ในการบริหารโครงการ
  • การวางแผนโครงการ
  • การควบคุมโครงการ
  • เทคนิคการบริหารโครงการ PERT และ CPM
  • การวิเคราะห์เครือข่ายงาน
  • เครือข่าย PERT และการคาดคะเนเวลากิจกรรม
  • การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติ
  • ความน่าจะเป็นของการทำให้โครงการบรรลุผลสำเร็จ
  • ขั้นตอนการคำนวณด้วยเทคนิค PERT
  • การเร่งรัดโครงการ
  • ประโยชน์และข้อจำกัดของ PERT และ CPM

บรรณานุกรม

ภาคผนวก