สร้าง Mobile App ข้ามแพลตฟอร์ม ด้วย PhoneGap

ผู้เขียน: อวยพร โกมลวิจิตรกุล
ISBN: 978-616-7897-28-8
จำนวนหน้า: 512 หน้า
ขนาด: 17 x 24 x 2.x ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 295 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 265 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


อธิบายวิธีเขียน Mobile App ที่ใช้ได้ทั้ง Android และ iOS ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงการประยุกต์ใช้ โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการสร้างเว็บเป็นเครื่องมือ อย่าง HTML5, CSS3, JavaScript, jQuery Mobile และ Dreamweaver CC รวบรวมโค้ดสำเร็จรูปที่พบบ่อย ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที ดาวน์โหลดตัวอย่างโค้ดในหนังสือผ่านเว็บ witty.co.th ฟรี เสริมด้วยการแนะนำวิธีโปรโมต+หารายได้ใน iTunes Store + Google Play สำหรับมือใหม่

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้สนใจเรียนรู้การพัฒนาแอปเพื่อให้สามารถทำงานได้หลายแพลตฟอร์มโดยเขียนโค้ดเพียงครั้งเดียว
  • ผู้ที่มีพื้นฐานด้าน web programming มาบ้าง และต้องการต่อยอดการทำงานไปสู่การพัฒนาแอป โดยไม่จำเป็นต้องไปเริ่มศึกษาเทคโนโลยีหรือภาษาที่ใช้ในการเขียนแอปใหม่ทั้งหมด
  • นักเรียน/นักศึกษาที่ต้องการนำไปทำโปรเจกต์เกี่ยวกับการพัฒนาแอป

ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่าน

    หนังสือเล่มนี้ปูพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นมาให้อยู่แล้ว ดังนั้น ถึงแม้ไม่มีพื้นฐานก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าผู้อ่านมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บ เช่น HTML5, JavaScript หรือ CSS3 รวมถึงการทำงานของสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมาบ้าง ก็จะช่วยให้เรียนรู้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

จะทดลองทำตามตัวอย่างในหนังสือ ต้องมีอะไรบ้าง

  • สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตที่ใช้ระบบ Android, iOS หรือ Windows Phone ก็ได้ ถ้ามีสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตที่รองรับทั้ง 3 ระบบก็ยิ่งดี เพราะในบางตัวอย่างอาจไม่สามารถทดสอบกับโปรแกรมจำลองเครื่องได้
  • โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ดและไฟล์สำคัญต่างๆ ของ PhoneGap เช่น Dreamweaver CC, NodeJS, PhoneGap API หรือ Eclipse ซึ่งดาวน์โหลดได้ตามลิงก์ที่บอกไว้ในหนังสือ


PART 1 : การสร้างโมบายล์แอป

บทที่ 1 รู้จัก PhoneGap

PhoneGap และ Hybrid Application ที่นักพัฒนาหลายคนพูดถึงคืออะไร? และจะช่วยให้การพัฒนาโมบายแอปที่มีความแตกต่างกันหลายแพลตฟอร์มเป็นเรื่องง่ายได้อย่างไร? เราจะมาทำความรู้จักกันในบทนี้

  • PhoneGap framework คืออะไร?
  • ความสามารถของ PhoneGap
  • แอปที่สร้างจาก PhoneGap ทำงานอย่างไร?

บทที่ 2 กำหนดค่าการทำงานของ PhoneGap บน Dreamweaver

แม้ว่า Adobe จะอนุญาตให้ใช้งาน PhoneGap ร่วมกับโปรแกรม Editor ต่างๆ ได้ฟรี แต่ก็ไม่สะดวกเท่ากับการใช้งานบน Dreamweaver เพราะทุกอย่างได้ถูกจัดเตรียมให้แล้ว เพียงแค่ติดตั้ง SDK ของแพลตฟอร์มโมบายล์นั้นๆ ลงไปก็สามารถใช้งานได้เลย

  • ลงทะเบียนการใช้งาน PhoneGap
  • ดาวน์โหลด SDK ของแพลตฟอร์มต่างๆ
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Dreamweaver CC
  • กำหนดค่า PhoneGap ร่วมกับ SDK
  • ทดสอบการทำงานของแอปบนอุปกรณ์จำลอง
  • ติดตั้งแอปลงอุปกรณ์จริงด้วยการสแกน QR Code
  • ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปลงอุปกรณ์

บทที่ 3 ติดตั้ง PhoneGap และ Eclipse เพื่อสร้างแอปบน Android

สำหรับผู้ไม่ต้องการใช้ Dreamweaver ในการพัฒนาแอป ก็สามารถใช้โปรแกรม Editor ตัวอื่นที่ได้รับความนิยมและใช้งานฟรีอย่าง Eclipse มาแทนได้ โดยในบทนี้จะพูดถึงการติดตั้ง PhoneGap และ Eclipse เพื่อพัฒนาแอปบน Android

  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง PhoneGap
  • ติดตั้ง JDK ชุดพัฒนาภาษา Java
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Apache Ant
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Android SDK, ADT และ Eclipse
  • กำหนด Path ของเครื่องมือต่างๆ ใน Environment Variables
  • สร้างแอป Android ด้วย PhoneGap และ Eclipse
  • ปรับแต่งค่าการทำงานของ Android Virtual Device

บทที่ 4 ติดตั้ง PhoneGap บน MAC OS เพื่อสร้างแอปบน iPhone/iPad

การพัฒนาแอป iPhone/iPad จะทำบนระบบปฏิบัติการ Mac OS เพราะนอกจาก ติดตั้ง PhoneGap แล้ว จะต้องอาศัยโปรแกรม Xcode เพื่อใช้ในการเขียนโค้ดและสร้างอุปกรณ์จำลองสำหรับทดสอบการทำงานของแอปด้วย

  • ลงทะเบียนขอใช้ Apple ID
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Xcode
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง PhoneGap บน MAC OS
  • สร้างแอปบน iPhone/iPad ด้วย PhoneGap และ Xcode

บทที่ 5 ติดตั้ง PhoneGap บน Windows 8 เพื่อสร้างแอปบน Windows Phone

Windows Phone ถือเป็นระบบปฏิบัติการสมาร์ตโฟน 1 ใน 3 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดรองจาก Android และ iOS แต่ด้วยการสนับสนุนจาก Microsoft ในทุกๆ ด้านทำให้มีผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการสร้างแอปบน Windows Phone จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่อาจมองข้ามได้

  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Windows Phone SDK
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง PhoneGap ใน Windows Phone SDK
  • สร้างแอปด้วย PhoneGap และ Visual Studio Express

บทที่ 6 พื้นฐานการใช้งาน Dreamweaver CC

การพัฒนาแอปด้วย PhoneGap และ Dreamweaver CC นับว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะง่ายต่อการติดตั้งและมีเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ มากมาย สำหรับมือใหม่บทนี้จะพาไปทำความรู้จักพื้นฐานการทำงานเบื้องต้นกันก่อน

  • รู้จัก Dreamweaver CC
  • การสร้าง Site
  • การจัดการ Site
  • สร้างหน้าเพจใหม่
  • กำหนดมุมมองการทำงาน
  • เซฟไฟล์งาน
  • กำหนดรูปแบบหน้าต่างการทำงาน
  • ทดสอบการแสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราเซอร์
  • กำหนดภาษาไทย
  • แสดงไม้บรรทัดและเส้นกริด

บทที่ 7 พื้นฐานการเขียน HTML5

PhoneGap จัดเป็น Framework ประเภท Hybrid Application ที่ใช้มาตรฐานของ Web Technology ในการพัฒนา ดังนั้น HTML5 จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเขียนแอปมีความสวยงามและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • รู้จัก HTML5
  • ความสามารถใหม่ของ HTML5
  • แท็กและอิลิเมนต์ของ HTML5
  • โครงสร้างพื้นฐานของการเขียน HTML5
  • แท็กพื้นฐานของ HTML5 ที่ควรรู้จัก
    • แท็ก <!doctype html>
    • แท็ก <head> ... </head>
    • แท็ก <title> ... </title>
    • แท็ก <body> ... </body>
    • แท็ก <meta>
    • แท็ก <br>
    • แท็ก <p> ... </p>
    • แท็ก <a> ... </a>
    • แท็ก <div> ... </div>
    • แท็ก <base>
    • แท็ก <!-- -->
    • แท็ก <h1> ... </h1> ถึง <h6> ... </h6>
    • แท็ก <img>
    • แท็ก <table> ... </table>
    • แท็ก <b> ... </b>, <i> ... </i> และ <u> ... </u>

บทที่ 8 จัดรูปแบบการแสดงผลด้วย CSS

หน้าตาของแอปที่สวยงามและถูกออกแบบมาอย่างเป็นระเบียบก็เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียกความสนใจของผู้ใช้ ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานที่ใช้จัดรูปแบบการแสดงผลของแอปหรือหน้าเว็บเพจให้สวยงามก็คือ CSS

  • CSS คืออะไร?
  • CSS แบบ Inline
  • CSS แบบ Embedded
  • CSS แบบ External
  • กำหนดค่าเบื้องต้นของ CSS ใน Dreamweaver CC
  • สร้าง CSS แบบ Embedded
  • สร้าง CSS แบบ Class
  • สร้าง CSS แบบ ID
  • สร้าง CSS แบบ External
    • นำไฟล์ CSS แบบ External ไปใช้กับเว็บเพจอื่นๆ
    • การย้ายค่า CSS

บทที่ 9 JavaScript เบื้องต้น

JavaScript เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างแอปด้วย PhoneGap เนื่องจากจะช่วยให้การเขียนแอปมีลูกเล่นและสามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการนำไปเขียน jQuery ที่เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาแอปของหนังสือเล่มนี้

  • JavaScript คืออะไร?
  • รูปแบบการเขียน JavaScript
  • การเขียน JavaScript แบบ Internal
  • การเขียน JavaScript แบบ External
  • ข้อกำหนดของการเขียน JavaScript
    • รูปแบบการเขียนคำสั่งใน JavaScript
    • การเขียนคอมเมนต์ใน JavaScript
    • คำสงวนที่ห้ามนำไปใช้ใน JavaScript
    • ข้อกำหนดอื่นๆ ของ JavaScript
  • ตัวแปรใน JavaScript
    • การประกาศตัวแปร
    • ข้อกำหนดของการประกาศตัวแปร
    • ชนิดข้อมูลของตัวแปร
    • การ Casting ชนิดข้อมูลของตัวแปร
    • การ Conversion ชนิดข้อมูลของตัวแปร
    • ขอบเขตการทำงานของตัวแปร
  • โอเปอเรเตอร์
    • ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
    • ตัวดำเนินการเพิ่มและลดค่า
    • ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
    • ตัวดำเนินการกำหนดค่า
    • ตัวดำเนินการทางตรรกะ
    • ตัวอย่างการใช้งานโอเปอเรเตอร์ใน JavaScript
    • ตัวอย่างการใช้งานโอเปอเรเตอร์เพื่อเปรียบเทียบค่าใน JavaScript
  • กำหนดเงื่อนไขการทำงานด้วยคำสั่ง if
    • คำสั่ง if
    • คำสั่ง if...else
    • คำสั่ง if...else...if
  • กำหนดเงื่อนไขการทำงานด้วยคำสั่ง switch
  • กำหนดการทำซ้ำด้วยคำสั่ง for
  • กำหนดการทำซ้ำด้วยคำสั่ง while และ do-while
    • คำสั่ง while
    • คำสั่ง do-while
  • ฟังก์ชันใน Java Script
    • รูปแบบของฟังก์ชัน
    • การเขียนฟังก์ชัน

บทที่ 10 พื้นฐานการสร้างแอปด้วย jQuery Mobile

การสร้างแอปในปัจจุบันทำได้ง่ายขึ้น เพราะมีเครื่องมือหรือ Framework ต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกราฟิกที่ติดต่อกับผู้ใช้ หรือส่วนควบคุมการทำงานต่างๆ ซึ่ง jQuery Mobile ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

  • รู้จัก jQuery Mobile
  • การติดตั้งหรือกำหนดค่าเพื่อใช้งาน jQuery Mobile
    • การใช้งานแบบ CDN
    • การใช้งานแบบติดตั้งไฟล์ลงเครื่อง
  • กำหนดการแสดงผลให้เหมาะสมกับขนาดของหน้าจอ
  • ใช้ Google Chrome เป็นโปรแกรมโมบายล์อีมูเลเตอร์
  • โครงสร้างหลักของ Page ที่เขียนด้วย jQuery Mobile
  • สร้าง Multipage
    • Internal Page
    • External Page
  • กำหนด Transition เปลี่ยนหน้า Page
  • สร้างและปรับแต่งปุ่ม
    • ปุ่มในส่วนของ header
    • ปุ่มในส่วนของ footer
    • ปุ่มในส่วนของ content
    • ใส่ไอคอนให้ปุ่ม
  • การสร้างฟอร์ม
    • โครงสร้างของฟอร์ม
    • Text Inputs และ Label
    • ประเภทของ Text Inputs
    • Slider
    • Flip Toggle Switch
    • Radio Buttons
    • Checkboxes
    • Select Buttons

บทที่ 11 การเขียน jQuery Mobile ด้วย Dreamweaver CC

นอกจากการเขียน jQuery Mobile ด้วยโปรแกรม Text Editor ต่างๆ แล้ว หากเราเลือกใช้ Dreamweaver CC ในการพัฒนาแอป ก็จะทำให้การเขียน jQuery Mobile เป็นเรื่องที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น เพราะมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกอยู่มาก โดยไม่ต้องเขียนโค้ดแม้แต่บรรทัดเดียว

  • jQuery Mobile บน Dreamweaver CC
  • เริ่มต้นสร้าง jQuery Mobile
  • ปรับแต่งและแก้ไขข้อความ
  • การสร้างปุ่ม
  • การเปลี่ยนสีข้อความด้วย CSS
  • การเปลี่ยนสีพื้นหลังของปุ่มและส่วนต่างๆ
  • สร้าง Themes ด้วยตัวเอง
  • ปรับแต่งโทนสี
    • คำสั่งที่ใช้ปรับแต่ง Theme ในส่วนของ Global
    • คำสั่งที่ใช้ปรับแต่ง Theme เฉพาะรูปแบบ
    • การสร้าง Theme ใหม่
    • ดาวน์โหลด Theme ที่สร้างไปใช้งาน
    • นำ Theme กลับไปแก้ไขใน ThemeRoller
  • สร้างเมนูแบบ List View
  • ใส่รูปภาพให้กับเมนู List View
  • การสร้างหน้าต่างป็อปอัปแบบ Modal Dialogs
  • การสร้างฟอร์ม
    • สร้าง Text รับข้อมูล
    • สร้าง Text Area รับข้อมูลหลายบรรทัด
    • สร้าง Password รับข้อมูลรหัสผ่าน
    • สร้างตัวเลือกแบบ Radio Button
    • สร้างตัวเลือกแบบ Checkbox
    • สร้างตัวเลือกแบบ Select
    • สร้างออบเจ็กต์สำหรับอัปโหลดไฟล์ด้วย File
    • สร้างปุ่ม Submit และ Reset

บทที่ 12 สร้างแอปด้วย Event ของ PhoneGap

แอปที่ดีควรสามารถตรวจจับและตอบสนองต่อสถานะการทำงานต่างๆ ได้ เช่น สถานะของการกดปุ่ม, การทำงานของตัวเครื่อง หรือการทำงานของแอป ซึ่ง PhoneGap ก็ได้เตรียม Event สำหรับการทำงานในส่วนนี้ให้แล้ว โดยเราจะทำความรู้จักกับ Event ต่างๆ ในบทนี้

  • รู้จักและทำความเข้าใจกับ Event
  • การสร้าง Event Listener
  • deviceready Event
  • Application Status Events
  • Button Events
  • Network Status Event
  • สร้างแอปตรวจสอบสถานะออนไลน์และการเชื่อมต่อเครือข่าย
    • อธิบายโค้ด assets/www/index.html
    • อธิบายโค้ด assets/www/js/script.js

บทที่ 13 เปลี่ยนไอคอนและภาพหน้าจอ Splash Screen

ก่อนเข้าใช้งานแอปต่างๆ ผู้ใช้จะได้สัมผัสกับไอคอนและพบกับหน้าจอต้อนรับ หรือที่เรียกว่าหน้าจอ “Splash Screen” ทั้ง 2 ส่วนนี้ถือเป็นหน้าตาของแอปที่ควรให้ความความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเขียนโค้ดเพื่อสร้างระบบการทำงานของแอปเลย

  • ไฟล์ไอคอนและหน้าจอ Splash Screen ใน PhoneGap
  • ไฟล์ไอคอนของแพลตฟอร์มต่างๆ
    • รู้จักหน่วยที่ใช้กำหนดความละเอียดของไฟล์ภาพบน Android
    • ไฟล์ไอคอนของ Android
    • ไฟล์ไอคอนของ iOS
    • ไฟล์ไอคอนของ Windows Phone
    • การเปลี่ยนไฟล์ไอคอน
  • ภาพ Splash Screen ของแพลตฟอร์มต่างๆ
    • ภาพ Splash Screen ของ Android
    • ภาพ Splash Screen ของ iOS
    • ภาพ Splash Screen ของ Windows Phone
  • การเปลี่ยนภาพ Splash Screen บนแพลตฟอร์มต่างๆ
    • เปลี่ยนภาพ Splash Screen บน Android
    • เปลี่ยนภาพ Splash Screen บน iOS

บทที่ 14 สร้างแอปวิดีโอออนไลน์

การชมภาพยนตร์บนเว็บไซต์ต่างๆ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นในบทนี้เราจะใช้ความรู้พื้นฐานจากในบทก่อนหน้านี้มาสร้างเป็นแอปวิดีโออออนไลน์เพื่อให้สามารถชมภาพยนตร์และรายการต่างๆ ผ่านทางสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น

  • การทำงานของแอปวิดีโอออนไลน์
  • ค้นหาโค้ดวิดีโอออนไลน์สำหรับฝังลงในแอป
    • โค้ดจาก Vimeo.com
    • โค้ดจาก Youtube.com
  • โค้ดแอปวิดีโอออนไลน์
  • อธิบายโค้ด assets/www/index.html

บทที่ 15 สร้างแอปเกมด้วย Accelerometer API

Accelerometer เข้ามาเพิ่มลูกเล่นและความสามารถต่างๆ ให้กับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต เช่น ใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวของแนวแกนต่างๆ (x, y, z) เพื่อให้หน้าจอแสดงผลตามการหมุนของตัวเครื่อง รวมถึงนำไปใช้ร่วมกับการเล่นเกมที่ทำให้การควบคุมเสมือนจริงมากขึ้น

  • รู้จัก Accelerometer
  • สร้างแอปทดสอบการทำงานของ Accelerometer
  • อธิบายโค้ด assets/www/index.html
  • นำชุดคำสั่ง Accelerometer API มาสร้างแอปเกม
    • รูปแบบการเล่นเกม
    • ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโค้ด
    • อธิบายโค้ด assets/www/index.html
    • อธิบายโค้ด assets/www/ballInBox.js

บทที่ 16 สร้างแอปเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและฐานข้อมูล

แอปที่ใช้บันทึกหรือจัดเก็บข้อมูล เช่น เก็บข้อมูลส่วนตัว, ตารางเวลางาน หรือข้อมูลตัวเลขต่างๆ ถือเป็นแอปที่มีความสำคัญเพราะสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายทั้งแอปประเภทยูทิลิตี้, เกม หรือสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งใน PhoneGap ก็มีเมธอดให้เก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เก็บข้อมูลลงในตัวเครื่องแบบไฟล์ข้อความหรือเก็บลงในฐานข้อมูล เป็นต้น

  • การจัดเก็บข้อมูล (Storage) ใน PhoneGap
  • การเขียนแอปเก็บข้อมูลแบบ localStorage
  • อธิบายโค้ด assets/www/index.html ของแอป mystorage
  • การเขียนแอปเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล
  • อธิบายโค้ด assets/www/index.html ของแอป mydb

บทที่ 17 เผยแพร่และวางจำหน่ายแอปบน iTunes Store และ Google Play

จากสถิติที่มีการสำรวจ ยอดการเผยแพร่และดาวน์โหลดแอปบน iTune Store และ Google Play ถือเป็นสัดส่วนที่สูงมาก จนคุ้มค่าพอที่เราจะพัฒนาแอปเพื่อวางจำหน่ายทั้ง 2 ตลาดนี้ โดยการอัปโหลดขึ้นไปเผยแพร่ก็เสียค่าใช้จ่ายไม่มากและมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ดังจะกล่าวถึงในบทนี้

  • เผยแพร่และจำหน่ายแอปบน iTunes Store
    • ลงทะเบียนเป็น iOS Developer Account
    • นำแอปขึ้นไปเผยแพร่บน iTunes Store
  • เผยแพร่และจำหน่ายแอปบน Google Play
    • ลงทะเบียนเป็น Android Developer
    • การลงลายเซ็นแบบดิจิทัลให้กับแอป
    • นำแอปขึ้นไปเผยแพร่บน Google Play

บทที่ 18 โปรโมตแอปให้โลกรู้และการหารายได้จากแอป

แอปที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างดีแค่ไหน ก็อาจเป็นแค่แอปดีๆ ที่ไม่มีใครรู้จัก ถ้าหากขาดซึ่งการโปรโมตที่ดี ดังนั้นการสร้าง แอปขึ้นมาสักแอปหนึ่ง นอกจากต้องเรียนรู้ทั้งเรื่องเทคนิคการเขียนโปรแกรมและการออกแบบแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ การโปรโมตแอปอย่างไรให้คนรู้จักมากที่สุด

  • เขียนแอปว่ายาก แต่โปรโมตแอปให้คนรู้จักยากกว่า
  • เทคนิคง่ายๆ โปรโมตแอปให้เป็นที่รู้จัก
    • โปรโมตแอปผ่านบล็อกเกอร์
    • โปรโมตแอปด้วยตัวเองผ่านช่องทางต่างๆ
    • เปิดตัวครั้งแรกควรเป็นแอปฟรี
    • มีเรื่องราวหรือความเป็นมา
    • เน้นโปรโมตที่จุดเด่นและความแตกต่าง
  • เขียนแอปให้รวย ต้องรู้จักช่องทางหารายได้จากแอป
    • รายได้จากการวางจำหน่ายแอปโดยตรง
    • รายได้จากการขายบริการในแอป (In-App Purchase)
    • รายได้ทางอ้อมจากการปล่อยแอปฟรี
    • รายได้จากแอปทดลองใช้งาน
  • เขียนแอปอย่างไรให้ขายได้
    • คุณภาพต้องดี วัตถุประสงค์ต้องชัดเจน
    • ชื่อแอปต้องโดน
    • ราคาต้องเหมาะสม
    • โปรโมตต้องถึง
  • ทำอย่างไรให้ติด Top New บน App Store และ Play Store

PART 2 : รวมโค้ดสร้างแอปที่ใช้บ่อย

บทที่ 19 รวมโค้ดตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ (Events)

  • รู้จักประเภทของ Event ต่างๆ
  • การใช้ EvnetListener
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Backbutton (สถานะการกดปุ่ม)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Deviceready (สถานะเริ่มต้นการทำงาน)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Menubutton (สถานะการกดปุ่ม Menu)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Pause (สถานะในโหมด Background)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Resume (สถานะในโหมด Foreground)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Searchbutton (สถานะการกดปุ่ม Search)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Online (สถานะออนไลน์)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Offline (สถานะออฟไลน์)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 20 รวมโค้ดตรวจสอบข้อมูลและสถานะต่างๆ ของอุปกรณ์ (Device info)

  • ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของอุปกรณ์ด้วยคำสั่ง device
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • ตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ ด้วยคำสั่ง connection
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • แจ้งเตือนสถานะรูปแบบต่างๆ ด้วยคำสั่ง notification
    • รูปแบบโค้ดของ notification.alert
    • รูปแบบโค้ดของ notification.confirm
    • รูปแบบโค้ดของ notification.beep
    • รูปแบบโค้ดของ notification.vibrate
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 21 รวมโค้ดสร้างแผนที่และอ่านพิกัดใน Google Maps

  • รู้จัก GPS
  • อ่านพิกัดของ GPS ด้วยคำสั่ง Geolocation
    • รูปแบบโค้ดของ geolocation.getcurrentPosition
    • รูปแบบโค้ดของ geolocation.watchPosition
    • รูปแบบโค้ดของ geolocation.clearWatch
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • การสร้างคีย์ Google Maps API
  • นำค่าพิกัดมาใช้บน Google Maps
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 22 รวมโค้ดบันทึกและค้นหารายชื่อผู้ติดต่อ (Contact)

  • เก็บข้อมูลรายชื่อของผู้ติดต่อด้วยคำสั่ง contacts.create
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • ค้นหารายชื่อของผู้ติดต่อด้วยคำสั่ง contacts.find
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • โค้ดที่ใช้จัดการ Contact ในส่วนอื่นๆ
    • การเซฟข้อมูล
    • การลบข้อมูล
    • การโคลนหรือก๊อบปี้ข้อมูล

บทที่ 23 รวมโค้ดการเก็บข้อมูลของแอป (Storage)

  • การเก็บข้อมูลของแอปใน PhoneGap
  • เก็บข้อมูลแบบถาวร (Local Storage)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • เก็บข้อมูลแบบชั่วคราว (Session Storage)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล (Database)
    • รูปแบบโค้ดที่ใช้เปิดการทำงานของฐานข้อมูล
    • รูปแบบโค้ดที่ใช้คิวรี่ข้อมูล
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 24 รวมโค้ดการทำงานของกล้อง (Camera)

  • ควบคุมการทำงานของกล้องด้วยคำสั่ง camera
    • รูปแบบโค้ดการถ่ายภาพ
    • รูปแบบโค้ดจัดเก็บภาพ
    • รูปแบบโค้ดนำภาพที่ถ่ายมาแก้ไข
    • รูปแบบโค้ดเปิดภาพจากแกลลอรี
    • ออปชันที่สำคัญของคำสั่ง camera
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • ถ่ายภาพวิดีโอด้วยคำสั่ง capture.captureVideo
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • เปิดและเลือกภาพถ่ายจากแกลลอรีภาพด้วยคำสั่ง getPicture
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 25 รวมโค้ดการจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ (Files & Folders)

  • การเข้าถึงระบบไฟล์
  • เข้าถึงโฟลเดอร์ด้วยออบเจ็กต์ DirectoryEntry
    • เมธอด getMetadata
    • เมธอด moveTo
    • เมธอด copyTo
    • เมธอด remove
    • เมธอด getParent
  • เข้าถึงไฟล์ด้วยออบเจ็กต์ FileEntry
    • เมธอด createWriter
    • เมธอด file
  • อ่านไฟล์ด้วยออบเจ็กต์ FileReader
    • เมธอด abort
    • เมธอด readAsText
  • เขียนไฟล์ด้วยออบเจ็กต์ FileWriter
    • เมธอด write
    • เมธอด seek
    • เมธอด abort
  • สร้างแอปเขียนและบันทึกข้อมูลลงในไฟล์
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง