เก่ง PHP5 ให้ครบสูตร
ผู้เขียน: สาธิต ชัยวิวัฒน์ตระกูล
ISBN: 978-974-8026-71-8
จำนวนหน้า: 360 หน้า
ขนาด: 21.0 x 29.7 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
หนังสือขาวดำ
แถม CD
ราคาปก: 295 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 260 บาท
- ทำความรู้จัก PHP 5 ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการประยุกต์ใช้งาน
- แจกแจงการติดตั้ง และใช้งานโปรแกรมอย่างละเอียด ทั้งใน Windows และ Linux
- รวบรวมตัวอย่างการพัฒนา web application และเทคนิคต่างๆ มากมาย
- อธิบายการทำงานประกอบในลักษณะ workshop ทุกขั้นตอน สามารถทดลองได้ด้วยตัวเอง
- ผู้ที่เริ่มต้นและสนใจทำเว็บไซต์ทุกระดับ
- ผู้ที่สนใจการเขียนสคริปต์หรือพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย PHP
- ผู้ที่ต้องการนำ PHP ไปประยุกต์ใช้งานหรือพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ควรมีพื้นฐานการเขียนเว็บไซต์เบื้องต้นด้วยภาษา HTML
- มีประสบการณ์ในการใช้ระบบปฏิบัติการ Windows หรือ Linux
- เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไป
- โปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในหนังสือ (มีอยู่ในซีดีที่แถมมากับหนังสือแล้ว)
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง
จะอ่านหนังสือเล่มนี้ควรรู้อะไรมาก่อนบ้าง
จะทดลองปฏิบัติจริงตามตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ต้องมีอะไรบ้าง
บทที่ 1 รู้จักกับ PHP
เนื้อหาในบทนี้จะแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับ PHP ว่าคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไรกว่าจะมาเป็น PHP ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โครงสร้างการทำงานของ PHP ตลอดจนข้อดีของ PHP ว่ามีอะไรบ้าง ทำไมถึงทำให้ PHP ได้รับความนิยมสูง นอกจากนี้ยังแนะนำฟีเจอร์ที่สำคัญๆ ของ PHP 5 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุด
- PHP คืออะไร
- โครงสร้างการทำงานของ PHP
- ข้อดีของ PHP
- มีอะไรใหม่ใน PHP 5
บทที่ 2 ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็นก่อนใช้งาน
ก่อนที่จะใช้งาน PHP เรามาติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการใช้งานกันก่อน ซึ่งได้แก่ Apache ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์และ PHP ทำหน้าที่ประมวลผลสคริปต์ต่างๆ ที่เราเขียนขึ้น โดยเนื้อหาในบทนี้จะสอนการติดตั้งทั้งบนระบบปฏิบัติการ Linux และ Windows การกำหนดค่าคอนฟิกของทั้ง Apache และ PHP รวมไปถึงการปรับแต่งให้ Apache และ PHP ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต้องติดตั้ง
- ติดตั้ง Apache + PHP บน Linux
- ติดตั้ง Apache บน Linux
- ติดตั้ง PHP บน Linux
- ปรับแต่งให้ Apache ทำงานร่วมกับ PHP บน Linux
- ติดตั้ง Apache + PHP บน Windows
- ติดตั้ง Apache บน Windows
- ติดตั้ง PHP บน Windows
- ปรับแต่งให้ Apache ทำงานร่วมกับ PHP บน Windows
- ปรับแต่งไฟล์คอนฟิก php.ini ให้เหมาะสม
บทที่ 3 เริ่มต้นใช้งาน PHP
เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการปูพื้นฐานการใช้งาน PHP ให้กับผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้คุ้นเคยกับรูปแบบและการเขียน อีกทั้งยังถือว่าเป็นการทบทวนสำหรับผู้ที่เคยใช้งาน PHP มาก่อน ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปแบบการใช้งาน PHP 5 ยังคงเหมือนกับการใช้ PHP 4 ดังนั้นโค้ดส่วนใหญ่ที่เขียนไว้ด้วย PHP 4 ยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับ PHP 5 ได้เช่นเดิม
- เปิด-ปิดแท็กก่อนใช้งานทุกครั้ง
- แทรก comment เพื่ออธิบายโค้ด
- ตัวแปร (Variable)
- ประเภทของข้อมูล (Data Type)
- ค่าคงที่ (Constant)
- โอเปอเรเตอร์ (Operator)
- โอเปอเรเตอร์ทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator)
- โอเปอเรเตอร์สตริง (String Operator)
- โอเปอเรเตอร์กำหนดค่า (Assignment Operator)
- โอเปอเรเตอร์กำหนดค่าแบบรวม (Combination Assignment Operator)
- โอเปอเรเตอร์เพิ่มค่าและลดค่า (Increment and Decrement Operator)
- โอเปอเรเตอร์เชิงเปรียบเทียบ (Comparison Operator)
- โอเปอเรเตอร์ทางตรรกะ (Logical Operator)
- โอเปอเรเตอร์ระดับบิต (Bitwise Operator)
- คำสั่งควบคุมโปรแกรม (Control Structure)
- คำสั่ง if
- คำสั่ง else
- คำสั่ง elseif
- คำสั่ง switch
- คำสั่ง while
- คำสั่ง for
- คำสั่ง do..while
- หยุดการทำงานของลูปและสคริปต์
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
-
กลุ่มคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบเงื่อนไข
-
กลุ่มคำสั่งควบคุมการทำงานซ้ำๆ
บทที่ 4 รู้จักกับอาร์เรย์
ในบทที่ผ่านมาเราได้รู้จักกับตัวแปรมาแล้ว ซึ่งตัวแปรจะใช้สำหรับเก็บค่าเพียงค่าเดียว แต่เรายังสามารถเก็บข้อมูลหลายๆ ตัวไว้ในกลุ่มเดียวกันได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้ตัวแปรหลายๆ ตัว ซึ่งถูกเรียกว่า อาร์เรย์ และการใช้งานก็มีความหลากหลาย และมีประโยชน์ในการทำงานหลายรูปแบบทีเดียว
- พื้นฐานของอาร์เรย์
- หลากหลายวิธีในการสร้างอาร์เรย์
- นับจำนวนสมาชิกในอาร์เรย์
- แสดงรายการสมาชิกในอาร์เรย์
- ตรวจสอบข้อมูลในอาร์เรย์
- แก้ไขและลบสมาชิกในอาร์เรย์
- สร้างสตริงจากอาร์เรย์ด้วย implode() และสร้างอาร์เรย์จากสตริงด้วย explode()
- จัดเรียงสมาชิกในอาร์เรย์
- อาร์เรย์หลายมิติ
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 5 จัดการสตริงและ Regular Expression
ในบทนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่ใช้จัดการสตริงซึ่งพบเห็นและใช้กันบ่อยๆ มีประโยชน์อย่างมากในการนำไปสร้างหน้างานตามที่ต้องการได้ง่ายขึ้น และเนื้อหาทั้งหมดนี้จะกลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย PHP รวมถึงการเขียนโปรแกรมในระดับสูงต่อไป
- ตัดช่องว่างออกจากสตริง
- จัดรูปแบบสตริงให้เหมาะสม
- จัดรูปแบบตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่
- หาความยาวและเปรียบเทียบสตริง
- หาสตริงย่อยและตำแหน่งของสตริง
- ค้นหาและแทนที่ข้อมูลในสตริง
- รู้จักกับ Regular Expression
- เริ่มใช้งาน Regular Expression
- ใช้เครื่องหมาย . เพื่อ match กับตัวอักษรใดๆ ก็ได้
- ใช้เครื่องหมาย [ ] เพื่อระบุเฉพาะตัวอักษรที่ต้องการ
- ใช้เครื่องหมาย [^ ] เพื่อระบุตัวอักษรที่ไม่ต้องการ
- ใช้กลุ่มตัวอักษรสำเร็จรูป
- ใช้เครื่องหมาย * หรือ + เมื่อต้องการรูปแบบข้อความเหมือนเดิม
- ใช้เครื่องหมาย ( ) เพื่อแบ่งกลุ่มรูปแบบของสตริง
- ระบุจำนวนที่ต้องการให้แสดงรูปแบบซ้ำด้วย { }
- กำหนดจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของสตริง
- กำหนดตัวเลือกด้วย |
- Match เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์พิเศษ
- ตรวจสอบสตริงตามรูปแบบที่ต้องการด้วย Regular Expression
- ค้นหาและแทนที่สตริงด้วย Regular Expression
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 6 ฟังก์ชัน
ฟังก์ชัน เป็นการนำเอาโค้ดที่ทำงานบางอย่างมารวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้ง่าย โดยเวลาใช้งานจริงก็เพียงแต่เรียกใช้ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมาเขียนโค้ดใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง สามารถเรียกใช้งานซ้ำได้หลายครั้งตามต้องการ ทำให้โค้ดดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม การใช้ฟังก์ชันอาจจะมีการส่งค่ากลับคืนมาหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับหน้าที่และลักษณะการทำงานของแต่ละฟังก์ชัน
- ทบทวนการใช้ฟังก์ชันใน PHP
- เขียนฟังก์ชันใช้งานเอง
- กฎการตั้งชื่อฟังก์ชัน
- กำหนดพารามิเตอร์ให้กับฟังก์ชัน
- ทำความเข้าใจกับขอบเขต (Scope) ของตัวแปรในฟังก์ชัน
- ส่งค่าให้ฟังก์ชันแบบ pass by value และ pass by reference
- ใช้ return ในฟังก์ชัน
- ใช้ return ในกรณีที่ต้องการให้ฟังก์ชันหยุดทำงาน
- ใช้ return ในกรณีที่ต้องการคืนค่าจากฟังก์ชัน
- นำโค้ดกลับมาใช้ใหม่ด้วย require() และ include()
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 7 จัดการกับไฟล์และไดเรกทอรี
การจัดการไฟล์และไดเรกทอรีเป็นงานอีกส่วนหนึ่งที่พบได้บ่อยมากในการเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านไฟล์ เขียนไฟล์ ลบไฟล์หรือสร้างไดเรกทอรี เป็นต้น ซึ่ง PHP เองมีความสามารถในการจัดการไฟล์และไดเรกทอรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นและง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันสารพัดประโยชน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย
- ลำดับขั้นตอนการจัดการกับไฟล์
- เปิดไฟล์ด้วย fopen()
- อ่านข้อมูลจากไฟล์
- หลากหลายวิธีในการอ่านข้อมูลจากไฟล์
- อ่านข้อมูลทีละตัวอักษร
- อ่านข้อมูลทีเดียวทั้งไฟล์
- บันทึกข้อมูลลงไฟล์
- สารพัดฟังก์ชันที่ใช้จัดการไฟล์และไดเรกทอรี
- ตรวจสอบว่ามีไฟล์อยู่หรือไม่ด้วย file_exists()
- เช็กขนาดของไฟล์ด้วย filesize()
- ลบไฟล์ด้วย unlink()
- สร้างและลบไดเรกทอรีด้วย mkdir() และ rmdir()
- เปลี่ยนชื่อไฟล์หรือไดเรกทอรีด้วย rename()
- อ่านข้อมูลในไดเรกทอรีด้วย opendir(), readdir() และ closedir()
- ตรวจสอบไฟล์หรือไดเรกทอรีด้วย is_file() และ is_dir()
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 8 เขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย PHP
ในการพัฒนาระบบงานขนาดใหญ่ นิยมนำหลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ OOP (Object-Oriented Programming) มาใช้เพื่อให้สามารถบริหารจัดการโปรแกรมได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมแบบ OOP มาตั้งแต่เวอร์ชัน 3 แล้ว และได้มีการพัฒนาและเพิ่มเติมใน PHP 4 แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในหลายๆ ส่วนจนกระทั่งได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่อีกครั้งใน PHP 5 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถทางด้าน OOP ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
- ทำความรู้จักกับการเขียนโปรแกรมแบบ OOP
- สร้างคลาส แอตทริบิวต์และเมธอดใน PHP
- คอนสตรักเตอร์ (Constructors) และดีสตรักเตอร์ (Destructors)
- สร้างอ็อบเจกต์จากคลาส
- ใช้งานแอตทริบิวต์ภายในคลาส
- ควบคุมการใช้แอตทริบิวต์และเมธอด
- สร้างคลาสใหม่จากคลาสเดิมที่มีอยู่แล้ว (Inheritance)
- ควบคุมการสืบทอดแอตทริบิวต์และเมธอดภายในคลาส
- สร้างแอตทริบิวต์และเมธอดในคลาสลูกใหม่ด้วยการ Override
- ป้องกันการสืบทอดคลาสและ Override ด้วย final
- ตรวจสอบประเภทคลาสและส่งอ็อบเจกต์ให้ถูกคลาสด้วย Type Hinting
- กำหนดค่าคงที่และสมาชิกคลาสแบบสแตติก
- โคลนนิ่งอ็อบเจกต์ (Opject Cloning)
- สร้างต้นแบบคลาสและเมธอดด้วย Abstract
- กำหนดมาตรฐานการใช้งานคลาสด้วยอินเทอร์เฟซ (Interface)
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 9 จัดการข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการเขียนโปรแกรมมีหลายประเภท เนื้อหาในบทนี้เราจะมาดูกันว่า PHP มีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกี่แบบ แต่ละแบบมีรายละเอียดอย่าไรบ้าง สามารถจัดการกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงการปรับแต่งการแสดงผลข้อผิดพลาดต่างๆ นอกจากนี้ยังได้แนะนำฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน PHP 5 ก็คือการใช้งาน exception ซึ่งนำมาใช้จัดการกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และผู้อ่านจะได้เรียนรู้ในบทนี้
- เขียนโปรแกรมย่อมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้
- ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการเขียนโปรแกรมมีกี่ประเภท
- Syntax Error
- Runtime Error
- Logic Error
- Error Message 5 แบบใน PHP
- ระดับในการรายงานข้อผิดพลาดของ PHP
- ปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดง error ในไฟล์ php.ini
- จัดการข้อผิดพลาดอย่างมีประสิทธิภาพด้วย exception
- รู้จักกับ exception
- กำหนดรูปแบบ exception ตามต้องการ
- กำหนดรูปแบบ exception ตามต้องการ
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 10 จัดการข้อมูลจากแบบฟอร์ม
เมื่อพูดถึงเว็บแอปพลิเคชันก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของแบบฟอร์ม เพราะเป็นส่วนสำคัญในการรับข้อมูลจากผู้ใช้ ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด เช่น แบบฟอร์มสมัครสมาชิก แบบฟอร์มสำหรับล็อกอินเข้าสู่ระบบหรือแบบฟอร์มสำหรับส่งอีเมล เป็นต้น เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงการเขียน PHP เพื่อจัดการกับข้อมูลในแบบฟอร์มประเภทต่างๆ รวมทั้งเทคนิคที่ใช้ในการจัดการและตรวจสอบข้อมูลที่รับมาจากผู้ใช้
- รับข้อมูลจาก text box และ text area
- รับข้อมูลจาก radio button
- รับข้อมูลจาก select box
- รับข้อมูลจาก checkbox และ hidden field
- ตรวจสอบข้อมูลจากแบบฟอร์ม
- จัดรูปแบบข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่
- รวมแบบฟอร์มและโค้ด PHP ให้เป็นหนึ่งเดียว
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 11 ติดตามการใช้งานของผู้ชมด้วย session
session เป็นความสามารถอย่างหนึ่งของ PHP ที่นำมาใช้ในการติดตามการใช้งานของผู้ชมบนเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลและกิจกรรมของผู้ใช้แต่ละคนที่เข้ามาใช้บริการของเว็บไซต์ได้ โดย session ได้ถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาระบบงานสำคัญต่างๆ มากมาย ซึ่งผู้อ่านจะได้เรียนรู้หลักการทำงานของ session รวมถึงการประยุกต์ใช้งานกันในบทนี้
- ทำไมต้องมี session
- ทำความเข้าใจกับพื้นฐานการทำงานของ session
- รู้จักกับคุกกี้
- 3 ขั้นตอนในการใช้งาน Session
- การใช้งาน session จริง
- ปรับแต่งการใช้งาน session ให้เหมาะสม
- ตรวจสอบ User Login ด้วย session
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 12 ติดตั้งและใช้งาน MySQL
MySQL เป็นระบบฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลประเภทโอเพ่นซอร์ซ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายเมื่อนำมาใช้งาน อีกทั้งยังมีความสามารถและฟีเจอร์ต่างๆ ไม่แพ้ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ต้องเสียเงินอย่างเช่น Oracle, MS SQL, DB2 เป็นต้น เนื้อหาบทนี้จะสอนการติดตั้งและทบทวนการใช้งาน MySQL เพื่อเป็นพื้นฐานในการใช้งานร่วมกับ PHP ต่อไป
- เริ่มติดตั้ง MySQL
- ติดตั้ง MySQL บน Windows
- ติดตั้ง MySQL บน Linux
- ล็อกอินเข้าใช้งาน MySQL
- ใช้งาน MySQL เบื้องต้น
- แสดงและสร้างฐานข้อมูล
- แสดงและสร้างตาราง
- ทำความเข้าใจกับชนิดข้อมูลใน MySQL
- ชนิดข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลตัวเลข
- ชนิดข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลวันที่-เวลา
- ชนิดข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลสตริง
- ใช้คำสั่ง SQL เพื่อจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล
- เพิ่มข้อมูลในตารางด้วย INSERT
- ค้นหาข้อมูลในตารางด้วย SELECT
- แก้ไขข้อมูลในตารางด้วย UPDATE
- ลบข้อมูลในตารางด้วย DELETE
- ลบตารางหรือฐานข้อมูลด้วย DROP
บทที่ 13 เขียน PHP ติดต่อกับ MySQL
PHP มีความสามารถในการติดต่อกับระบบจัดการฐานข้อมูลได้หลายประเภท เช่น Oracle, MSSQL, MySQL, PostgreSQL หรือ DB2 เป็นต้น โดยหนึ่งในระบบจัดการฐานข้อมูลที่นิยมนำมาใช้ร่วมกับ PHP มากที่สุดนั่นก็คือ MySQL และ PHP ก็มีฟังก์ชันและไลบรารีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อและจัดการกับ MySQL ซึ่งเราจะมาศึกษารายละเอียดกันในเนื้อหาบทนี้
- ติดตั้ง Extension เพื่อใช้งาน MySQL ร่วมกับ PHP
- ติดตั้ง mysql extension บน Windows
- ติดตั้ง mysql extension บน Linux
- อ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงบนเว็บ
- เพิ่มเรคอร์ดลงฐานข้อมูลผ่านแบบฟอร์ม
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 14 ใช้ฐานข้อมูลสำเร็จรูป SQLite
ใน PHP 5 นั้นได้มีการผนวกรวมเอาระบบจัดการฐานข้อมูลขนาดเล็กเข้ามาไว้ด้วย นั่นคือ SQLite ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานสูง ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเขียน PHP ติดต่อกับฐานข้อมูลได้อย่างสะดวกโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม
- รู้จักกับ SQLite
- ข้อจำกัดของ SQLite
- ทดสอบรัน SQLite จากคอมมานด์ไลน์
- ปรับแต่งค่า SQLite ก่อนใช้งาน
- เขียนสคริปต์ PHP ใช้งานร่วมกับ SQLite
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 15 จัดการกับวันที่และเวลา
วันที่และเวลาเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์ และสามารถพบเห็นการใช้งานอยู่ทั่วไป เช่น การแสดงวันที่เวลาปัจจุบันบนเว็บไซต์ การสั่งซื้อสินค้าจะต้องมีการกำหนดวันโอนเงินหรือวันส่งสินค้า การโพสต์ข้อความบนเว็บบอร์ดหรือฟอรัมต่างๆ ก็มีการบันทึกเวลาที่โพสต์ข้อมูล เป็นต้น PHP มีความสามารถในการจัดการข้อมูลวันที่และเวลาได้หลากหลายรูปแบบ รวมถึงสามารถแปลงข้อมูลวันที่และเวลาให้เป็นรูปแบบต่างๆ ได้ และเราจะมาศึกษารายละเอียดกันในบทนี้
- แสดงวันที่และเวลาปัจจุบัน
- แสดงวันที่ภาษาไทย
- ตรวจสอบวันที่ว่าถูกต้องหรือไม่
- รู้จักกับค่า timestamp
- จัดเก็บวันที่และเวลาลงใน MySQL
- สร้างแบบฟอร์มแสดงวันที่และเวลา
- สร้างปฏิทินประจำปี
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 16 อัปโหลดไฟล์ขึ้นเว็บไซต์
การอัปโหลดไฟล์ผ่านทางเว็บไซต์เป็นอีกฟีเจอร์หนึ่งที่ PHP รองรับและสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ ผู้อ่านสามารถนำความสามารถในการอัปโหลดไฟล์นี้มาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น การโพสต์รูปภาพ เอกสาร โปรแกรมประเภทต่างๆ ในบทนี้ผู้อ่านจะได้เห็นความสามารถของ PHP ในการจัดการกับการอัปโหลดไฟล์ รวมไปถึงเทคนิคการปรับแต่งค่าเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป
- ปรับแต่งค่าก่อนอัปโหลดไฟล์
- รู้จักกับตัวแปรในการอัปโหลดไฟล์
- รู้จักกับฟังก์ชันในการอัปโหลดไฟล์
- ทดสอบอัปโหลดไฟล์เบื้องต้น
- ตรวจสอบและปรับเปลี่ยนรูปแบบของไฟล์
- แยกเก็บไฟล์ที่อัปโหลดตามวันที่
- อัปโหลดหลายไฟล์พร้อมกัน
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 17 ส่งเมลด้วย PHP
การรับส่งเมลเป็นรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เพราะเราต้องใช้อีเมลในการติดต่อกับเพื่อนร่วมงานหรือบุคคลภายนอก รวมถึงรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้วย เราสามารถนำความสามารถในการส่งอีเมลของ PHP มาประยุกต์ใช้งานในเว็บไซต์ได้หลากหลายวิธี เช่น สร้างแบบฟอร์มสำหรับส่งอีเมลถึงเว็บมาสเตอร์เพื่อเสนอแนะความคิดเห็น หรือจะเป็นแบบฟอร์มให้ผู้ชมเว็บส่งเนื้อหาหรือข้อมูลไปให้เพื่อนที่รู้จัก ผ่านทางเว็บไซต์ของเราเองก็ได้ เป็นต้น
- ปรับแต่งค่าให้ถูกต้องก่อนส่งเมล
- ส่งเมลง่ายๆ ด้วยฟังก์ชัน mail()
- ระบุ header เพิ่มเติมในการส่งเมล
- ส่งเมลหาผู้รับหลายคน
- ส่งอีเมลแบบ HTML
- ฉีกข้อจำกัดในการส่งเมลด้วย PHPMailer
- ดาวน์โหลดและติดตั้ง PHPMailer
- ทดสอบส่งเมลเบื้องต้น
- ส่งอีเมลแบบ HTML
- ส่งเมลแบบแนบไฟล์ไปด้วย
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 18 ตรวจสอบสิทธิการใช้งานผู้ใช้ ต่อยอดสู่ระบบสมาชิก
การตรวจสอบสิทธิการใช้งานของผู้ใช้หรือที่เรียกกันว่า Authentication นั้น เรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานที่นำมาใช้สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบันกันแล้ว โดยเหตุผลหลัก นอกจากการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้และเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการเว็บแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปรับแต่งรูปร่างหน้าตาของเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนได้ ซึ่งผู้อ่านจะได้รู้จักกับการนำหลักการ Authentication มาประยุกต์ใช้งาน รวมถึงความสามารถของ PHP ที่ใช้ในการจัดการกันในบทนี้
- ตรวจสอบสิทธิการใช้งานเบื้องต้น
- ตรวจสอบสิทธิโดยการใช้ HTTP Authentication
- ระบุข้อมูลลงไปในสคริปต์โดยตรง
- อ่านข้อมูลจากฐานข้อมูล
- ตรวจสอบและพัฒนาระบบสมาชิกโดยการใช้ session
- สร้างไฟล์ dbcon.php สำหรับเก็บไว้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
- หน้าแรกของเว็บไซต์
- ลงทะเบียนสมัครสมาชิกใหม่
- ล็อกอินเข้าสู่ระบบ
- เมื่อผู้ใช้ลืมรหัสผ่าน
- หน้านี้สำหรับสมาชิกเท่านั้น
- เปลี่ยนรหัสผ่าน
- ล็อกเอาต์ออกจากระบบ
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 19 สร้างเว็บบอร์ดเปิดชุมชนออนไลน์
คงจะดีไม่ใช่น้อยหากเว็บไซต์ของเรามีเว็บบอร์ดไว้ให้บริการผู้ชม เพื่อเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงสอบถามปัญหาต่างๆ หลายเป็นชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมผู้ใช้งานจากทั่วสารทิศมารวมกันอยู่ในเว็บไซต์ของเรา ด้วยความสามารถของ PHP ผู้อ่านสามารถพัฒนาเว็บบอร์ดขึ้นมาใช้งานเองได้โดยง่าย ซึ่งจะได้เห็นตัวอย่างกันในบทนี้
- เตรียมความพร้อมก่อนสร้างเว็บบอร์ด
- สำรวจโครงสร้างไฟล์ style.css และ dbcon.php
- สร้างแบบฟอร์มสำหรับโพสต์กระทู้
- แสดงรายการกระทู้ทั้งหมด
- เปิดดูข้อมูลและตอบกระทู้
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 20 รวมทิปเทคนิคเด็ด
หลากหลายเทคนิคและกลเม็ดเคล็ดลับที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างสรรค์เว็บให้มีความทันสมัยและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น การแสดงไฮไลต์สีของโค้ด PHP หรือการตรวจเช็ก IP Address ของผู้เข้าชมเว็บ เป็นต้น ซึ่งในบทนี้ผมจะแนะนำเทคนิคบางส่วนที่น่าสนใจที่ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในเว็บได้
- วัดสปีดความเร็วอินเทอร์เน็ตด้วยตัวคุณเอง
- แสดงไฮไลต์สีของโค้ด PHP
- Redirect ผู้ชมไปยังหน้าใหม่
- เก็บผลลัพธ์ในบัฟเฟอร์ก่อนส่งให้ผู้ใช้
- เคาต์ดาวน์นับถอยหลังวันสำคัญ
- ตรวจสอบ IP Address ของผู้ชม
- นับจำนวนผู้เข้าชมเว็บ
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
ภาคผนวก ก คำถามที่ถามกันบ่อย (FAQ)
ภาคผนวก ข สารพันเว็บไซต์ PHP
ภาคผนวก ค แนะนำ Tool ที่น่าสนใจ
ภาคผนวก ง รายชื่อไฟล์ที่แถมมากับซีดี