ช็อปปิ้งออนไลน์ยังไงไม่ให้โดนโกง

ผู้เขียน: อนุชา ลีวรกุล
ISBN: 978-616-7119-93-9
จำนวนหน้า: 220 หน้า
ขนาด: 16.5 x 19 x 1.1 ซม. ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 155 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 140 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    หมดปัญหากับการเสียรู้ในโลกออนไลน์ หายห่วงกับการโดนโกงจากการช็อปปิ้งออนไลน์และการใช้อินเทอร์เน็ต เพราะเรารู้ทันกลลวงเพื่อป้องกันไม่ให้โดนหลอกจากสารพัดกิจกรรมในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น...
  • จ่ายด้วย PayPal หรือบัตรเครดิต
  • ซื้อของใน eBay หรือเว็บช็อปปิ้งทั่วไป
  • เล่น Facebook หรือ Instagram
  • เปิดอีเมลอย่างปลอดภัย

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นประจำ
  • ผู้ที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์
  • นักช็อปปิ้งออนไลน์
  • เจ้าของเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์
  • นักขายสินค้าผ่าน Facebook หรือ Instagram
  • รวมถึงคนที่อยากรู้ทันกลลวงออนไลน์ในวันนี้!


บทที่ 1 รู้จักกับอินเทอร์เน็ตในด้านมืด

เรียนรู้ทัศนคติที่ดีในการเลือกซื้อไม่ให้โดนโกง และเข้าใจโลกของคนขายที่จ้องจะหาวิธีโกงผู้ใช้เน็ต กับกลยุทธ์พื้นฐานต่างๆ ในการใช้โกงทั้งหลาย

  • จุดเริ่มต้นของธุรกิจผ่านเน็ต
  • มิจฉาชีพได้เงินเป็นพันล้านทุกปี
  • ผู้ซื้อทั้ง 5 ประเภทที่โดนโกงบ่อยที่สุด
  • รวมกลโกงออนไลน์สุดฮิตของไทย
    • การขโมยข้อมูลด้วย Phishing
    • กลโกงในโลกช็อปปิ้ง
  • 6 วิธีป้องกันกลโกงออนไลน์ครอบจักรวาล
  • สิ่งที่ใช้ในการติดตามหาคนร้าย
  • กฎหมายที่สามารถเอาผิดคนร้าย

บทที่ 2 ป้องกันการโจรกรรมข้อมูล

บนโลกออนไลน์สมัยนี้นอกจากจะต้องระวังถูกหลอกจากการค้าขายแล้ว ยังต้องระวังไม่ให้ใครเอาข้อมูลส่วนตัวไปได้ง่ายๆ ด้วย โดยในบทนี้จะเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวนั่นเอง

  • โจรกรรมข้อมูลกับวิธี Identity Theft
  • Malware มาจากทางไหนได้บ้าง
  • 8 วิธีป้องกัน Malware ไม่ให้มารบกวน
  • ตั้งชื่อผู้ใช้และรหัสให้แฮกยาก
  • เครื่องมือช่วยเก็บรหัสอย่างปลอดภัย
  • ข้อควรระวังเมื่อใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ

บทที่ 3 รู้ทันเว็บลวงโลก

เว็บโกงกับเว็บขายของที่จริงใจมีจุดสังเกตหลายอย่าง ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีแยกแยะเว็บเหล่านี้กัน

  • รู้จักกับเว็บ Spoofed จอมปลอม
  • คดีเด็ด Apple.com ปลอม
  • รู้โครงสร้าง URL ก็จับทางได้หมด
  • วิธีสังเกต URL ลิงก์ที่อยู่เว็บปลอม
    • ชื่อโดเมนติดกับ Extension เสมอ
    • URL ปลอมชัวร์ถ้ามี @
    • การตรวจคำสะกดให้ดี
    • เข้าเว็บเองจากเบราเซอร์ชัวร์สุด
    • ก่อนล็อกอินมองหา https://
  • Google และบทเรียนราคา 4 พันบาท

บทที่ 4 ร้านไหนเชื่อได้ดูอย่างไร

ไม่เคยมียุคไหนที่เราทุกคนจะสามารถเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนขายได้ภายในพริบตาเดียวเหมือนในยุคดิจิตอลนี้ ทำให้เราต้องระวังคนขายบนโลกออนไลน์เป็นสิบเท่าจากเมื่อก่อน ในบทนี้เราจะไปดูกลโกงของคนขายในด้านมืดบนโลกออนไลน์ รวมถึงการป้องกันและวิธีแก้ไขสถานการณ์จากกลโกงของผู้ขายที่เล่นไม่ซื่อ

  • ศาสนา “จูจู” กับกลลวงออนไลน์
  • คนใน 10 ประเทศที่ควรหนีให้ห่าง
  • 4 วิธียอดฮิตของผู้ค้ามิจฉาชีพ
  • 5 วิธีตรวจสอบคนขายและป้องกันการโดนโกง
  • ควรเก็บหลักฐานการซื้ออะไรบ้าง
  • คำแนะนำในการ “ซื้อ” ของผ่านเว็บบอร์ด

บทที่ 5 ใช้ PayPal อย่างปลอดภัย

เรียนรู้การป้องกันและการใช้ระบบรับจ่ายเงินบนอินเทอร์เน็ตที่ฮิตที่สุดในโลกอย่างได้ประโยชน์และปลอดภัยที่สุด

  • PayPal เหมาะกับคุณหรือไม่
  • ซื้อด้วย PayPal แล้วดีอย่างไร
  • หลักการจ่ายเงินผ่าน PayPal
  • ทำไม PayPal ต้องให้ Verify
  • 4 ขั้นตอนง่ายๆ การ Verify บัญชี PayPal
  • ปัญหาที่พบบ่อยกับการใช้ PayPal
  • แก้ไขปัญหาการซื้อของบน eBay
  • แก้ไขปัญหาการซื้อของจากร้านทั่วไป

บทที่ 6 รู้ทันหลุมพรางอีเมล

รู้ทันกลโกงที่เก่าแก่ที่สุดจากมิจฉาชีพที่ใช้อีเมลเป็นเครื่องมือในการหลอกเงิน

  • เป้าหมายของอีเมล Phishing
  • 5 อีเมลหลอกลวงยอดฮิตติดอันดับโลก
  • อีเมลแอบอ้างจากธนาคารและอื่นๆ
  • ตัวอย่างข้อความอีเมลสวมรอยธนาคาร SCB
  • 6 ทางป้องกันอีเมลธนาคารปลอม
  • ขอยืมบัญชีฝากเงินสักล้านเหรียญ
  • ถูกล็อตเตอรี่ที่ไม่เคยซื้อ
  • 6 วิธีป้องกันการรับอีเมล Phishing
  • วิธีสังเกตอีเมล Phishing และมิจฉาชีพ

บทที่ 7 เล่น Facebook อย่างไรไม่ให้โดนปล้น

เรียนรู้วิธีระวังและป้องกันการโดนโกงกับการช็อปปิ้งและใช้ Facebook ให้เกิดความปลอดภัยที่สุดจากอาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะการซื้อขายหรือแม้แต่ความปลอดภัยของชีวิต

  • Social Network หรือตลาดสดกันแน่
  • Facebook มีปัญหาตรงไหน
  • 5 หลุมพรางสุดฮิตบน Facebook
  • 6 วิธีตรวจสอบความน่าเชื่อบน Facebook
  • วิธีป้องกันและระวัง Facebook โดนแฮก
  • คดีฆาตกรรมผ่าน Facebook
  • 7 สิ่งที่ทุกคนควรหยุดทำบน Facebook
  • 6 เรื่องที่ต้องระวังกับ Pre-Order บน Facebook

บทที่ 8 หลุมพราง Instagram

เข้าใจหลักการของมิจฉาชีพบนเว็บ Photo Sharing โด่งดังอย่าง Instagram และเรียนรู้วิธีป้องกันการถูกหลอกอีกมากมาย

  • ตุ๊กตาเฟอร์บี้ปล้นเงิน 7 ล้านบน Instagram
  • รู้จักกับ Instagram ให้ดีขึ้น
  • Instagram สวรรค์ของมิจฉาชีพ?
  • ระวังแอป Instagram ของปลอม
  • Likes หรือ Followers ซื้อกันได้
  • 9 ทัศนคติการซื้อของบน Instagram และ Social Network

บทที่ 9 ซื้อขายปลอดภัยบน eBay

เรียนรู้วิธีตรวจสอบความน่าเชื่อถือของคนซื้อคนขายบน eBay เพื่อหลบหลีกหลุมพรางให้ซื้อขายได้อย่างปลอดภัยที่สุด คุ้มค่าที่สุด และทิ้งท้ายด้วยวิธีค้นหาสินค้าน่าขายบน eBay

  • ทำไมคนนิยม eBay
  • Feedback Score ป้องกันภัย
  • เคล็ดลับดูความน่าเชื่อถือก่อนซื้อ
  • Feedback Score ตัวประกันที่ช่วยคุณได้
  • วิธีแก้กรรม เพิ่ม Feedback Score ให้ดูดี
  • 6 ขั้นตอนเพื่อช็อปอย่างปลอดภัย
  • ป้องกันคนขายโกงบน eBay
  • ขายอะไรดีบน eBay

บทที่ 10 ไม่ง้อบัตรเครดิตด้วย Shopping Card

สำหรับคนที่ไม่มีบัตรเครดิตแต่ต้องการทำธุรกรรมหรือซื้อสินค้าอย่างคนที่มีบัตรเครดิต คุณก็สามารถทำได้แล้ววันนี้ด้วยบริการ K-Cyber Banking ของธนาคารกสิกรไทย

  • Virtual Pre-Paid Card คืออะไร
  • รู้จักกับ Web Shopping Card
  • ข้อดีของการใช้ Web Card
  • เมื่อถึงตอนใช้งาน Web Card
  • สิ่งที่ต้องใช้สมัคร K-Cyber Banking
  • สมัครเปิดใช้ Web Card
  • การอายัดบัตร Web Shopping Card
  • การดึงเงินกลับคืนเมื่อจ่ายผิดพลาด
  • คำถามพบบ่อยในการใชับัตร

บทที่ 11 ป้องกันแฮกเกอร์สมาร์ตโฟน

ในบทนี้เราจะมาดูวิธีใช้มือถือและสมาร์ตโฟนเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพออนไลน์ทั้งหลาย

  • ทำไมต้องแฮกสมาร์ตโฟน
  • แยกแยะความเสี่ยงการใช้สมาร์ตโฟน
  • เล่นเน็ตผ่านมือถือนอกบ้าน…เสี่ยงแค่ไหน?
  • วิธีป้องกันแฮกเกอร์ผ่าน Wi-Fi นอกบ้าน
  • ขั้นตอนการโจรกรรมข้อมูลผ่าน Bluetooth
  • 9 วิธีป้องกันโจรกรรมผ่าน Bluetooth
  • 7 วิธีป้องกันข้อมูลเผื่อทำ iPhone หาย

บทที่ 12 วิธีใช้บัตรเครดิตให้ปลอดภัยสุดๆ

ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในการช็อปออนไลน์ก็คือเรื่องบัตรเครดิต มาดูบทสรุปของการป้องกันและการแก้ปัญหาเหล่านั้นในบทนี้กัน

  • ช่องทางโกงบัตรเครดิตที่ควรรู้
  • Credit Card Verifier ตรวจสอบบัตรเครดิต
  • วิธีป้องกันโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต
  • Verified by VISA ช่วยอะไรได้

ภาคผนวก ก เว็บไซต์อ้างอิงและแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

  • เว็บไซต์ธนาคารออนไลน์เพื่อใช้อ้างอิงที่อยู่ URL จริงก่อนทำธุรกรรม
  • เว็บข้อมูลอ้างอิงและเว็บไซต์แนะนำการป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์
  • เว็บไซต์แหล่งช็อปปิ้งสำคัญของไทย
  • เว็บไซต์ซื้อขายของต่างประเทศ และเว็บ B2B ที่แนะนำ
  • Facebook ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลโกงออนไลน์ต่างๆ
  • เว็บไซต์อ้างอิงข้อมูลกลโกงออนไลน์อื่นๆ

ภาคผนวก ข คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับวงการอินเทอร์เน็ตและค้าขายออนไลน์