มือใหม่เป็นช่างซ่อมได้ แท็บเล็ต Android

ผู้เขียน: สุเทพ โลหณุต
ISBN: 978-616-7897-01-1
จำนวนหน้า: 360 หน้า
ขนาด: 16.5 x 19 x 1.8 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 225 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 200 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    ไม่ใช่แค่ซ่อมแท็บเล็ตของตัวเองได้ แต่สามารถเป็นช่างซ่อมมืออาชีพไม่ยากเลย
  • ถอด-ประกอบเพื่อซ่อมแท็บเล็ตแบบช่างที่ชำนาญ
  • ศึกษาวิธี Reset แท็บเล็ตให้เหมือนใหม่
  • เรียนรู้เทคนิคการซ่อมแท็บเล็ตแบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้พื้นฐาน
  • ตรวจสอบหาอาการเสียของแท็บเล็ตให้เป็น
  • เสริมด้วยเทคนิคการ Flashrom และการ Backup ข้อมูลก่อนจะสาย

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่ต้องการซ่อมแท็บเล็ตได้ด้วยตัวเอง
  • ผู้ที่สนใจยึดอาชีพเป็นช่างซ่อมแท็บเล็ต
  • ผู้ที่สนใจเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาให้แท็บเล็ตในเบื้องต้น
  • ผู้ประกอบธุรกิจ SME และผู้สนใจด้าน IT ทั่วๆ ไป

ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้

  • ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android เป็นในเบื้องต้น
  • ใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows เป็นในเบื้องต้น
  • หากมีพื้นฐานทางด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

ต้องมีอะไรบ้างเพื่อทำตามตัวอย่างในหนังสือ

  • แท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android
  • คอมพิวเตอร์
  • อินเทอร์เน็ต
  • หน่วยความจำเสริมประเภท SD Card
  • สาย Data Link สำหรับเชื่อมต่อแท็บเล็ตกับคอมพิวเตอร์
  • เครื่องมือพื้นฐานสำหรับงานซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มัลติมิเตอร์, หัวแร้ง ฯลฯ


บทที่ 1 ล้อมวงเล่าเรื่องแท็บเล็ต

บทแรกนี้จะมาแนะนำวิธีการเลือกแท็บเล็ตที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อหามาใช้งาน พร้อมทั้งแนะนำการอ่านสเป็กแท็บเล็ต แนะนำวิธีการเลือกซื้อแท็บเล็ตให้คุ้มค่าคุ้มราคา รวมถึงการเจาะลึกและทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็นทางด้านฮาร์ดแวร์เบื้องต้น เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับงานซ่อมแท็บเล็ตต่อไป

  • วิธีเลือกซื้อแท็บเล็ตให้คุ้มค่า
  • รอบรู้เรื่องสเป็กแท็บเล็ต
  • สเป็กของตัวเครื่อง
  • สเป็กหน้าจอแสดงผล
  • สเป็กหน่วยประมวลผล
  • สเป็กหน่วยความจำ
  • สเป็กกล้องถ่ายภาพ

บทที่ 2 กี่ร้อยกี่พันแอป ก็ลงได้ในพริบตา

หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมร้านขายหรือร้านซ่อมแท็บเล็ต/สมาร์ตโฟนถึงใช้เวลาลงแอปเป็นร้อยเป็นพันแอปให้เราได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ในบทนี้จะเปิดเผยถึงเคล็ดไม่ลับง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้โดยใช้โปรแกรม Express Files และโปรแกรม HiSuite พร้อมทั้งแนะนำวิธีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย

  • รู้จักกับโปรแกรม Express Files
  • ดาวน์โหลดโปรแกรม Express Files
  • ติดตั้งโปรแกรม Express Files
  • ส่วนประกอบของโปรแกรม Express Files
  • ดาวน์โหลดแอป Android ด้วย Express Files
  • แหล่งดาวน์โหลดแอป Android อื่นๆ
  • เปิดการทำงานของ Debug mode
  • รู้จักกับโปรแกรม HiSuite
  • ดาวน์โหลดโปรแกรม HiSuite
  • ติดตั้งโปรแกรม HiSuite
  • ความสามารถของโปรแกรม HiSuite
  • ลงมือติดตั้งแอป Android ผ่านโปรแกรม HiSuite

บทที่ 3 สำรองข้อมูลก่อนซ่อมแท็บเล็ต

ก่อนที่คุณจะซ่อมแท็บเล็ต หรือแม้แต่การอัปเกรดระบบปฏิบัติการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเครื่อง สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับมือใหม่นั่นก็คือ การสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล ในบทนี้จะเป็นการแนะนำวิธีการสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรายชื่อผู้ติดต่อ, ข้อความ SMS, แอปต่างๆ หรือปฏิทิน เป็นต้น

  • สำรองและกู้คืนข้อมูลด้วยแอป Super Backup
  • คำสั่งต่างๆ ของแอป Super Backup
  • ข้อควรจำก่อนสำรองข้อมูลลง SD Card
  • สำรองข้อมูลประเภท Apps
  • สำรองข้อมูลประเภท SMS
  • สำรองข้อมูลประเภท Contacts
  • สำรองข้อมูลประเภท Call Logs
  • สำรองข้อมูลประเภท Calendars
  • สำรองข้อมูลประเภท Bookmarks
  • จัดการข้อมูลในแท็บเล็ตผ่านโปรแกรม HiSuite
  • สำรองข้อมูลสารพัดผ่านโปรแกรม HiSuite
  • กู้คืนข้อมูลด้วยโปรแกรม HiSuite
  • ล้างข้อมูลด้วยคำสั่ง wipe data/factory reset
  • ล้างข้อมูลด้วยคำสั่ง wipe cache partition

บทที่ 4 แก้ปัญหาแท็บเล็ตผ่านซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐาน

ไม่ต้องตกใจถ้าวันหนึ่งพบว่าเครื่องแท็บเล็ตของคุณมีอาการผิดปกติ เช่น อาการหน้าจอเยื้องหรือแสดงผลผิดพลาด ซึ่งจะส่งผลให้ระบบทัชสกรีนบนหน้าจอไม่สามารถทำงานได้ ในบทนี้จะได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นผ่านการปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ และการฝึกใช้ซอฟต์แวร์พื้นฐานอย่าง Android Debugging Bridge (ADB)

  • การใช้งาน Android Debugging Bridge (ADB)
    • ค้นหาไดรเวอร์แท็บเล็ต
    • ดึงไฟล์ script.bin เข้าคอมพิวเตอร์
    • ปรับแต่งแก้ไขด้วยโปรแกรม ADB
    • ดึงไฟล์ script.bin กลับสู่แท็บเล็ต
  • ดึงไฟล์ script.bin ด่วนจี๋ด้วย Edit Script_bin EasyTools
  • แก้ไขปัญหาหน้าจอเยื้อง
    • ค่ามาตรฐานของพารามิเตอร์ LCD
    • แก้ปัญหาจอเยื้องผ่านพารามิเตอร์ LCD
  • แก้ไขปัญหาทัชสกรีนไม่ทำงาน
    • ค่ามาตรฐานของพารามิเตอร์ CTP
    • แก้ปัญหาทัชสกรีนผ่านพารามิเตอร์ CTP

บทที่ 5 แก้ปัญหาแท็บเล็ตผ่านซอฟต์แวร์ขั้นสูง

บทนี้จะรวมวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยซอฟต์แวร์ในขั้นสูง โดยจะมีการใช้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในการปรับแต่งและการจัดเก็บไดรเวอร์ของแท็บเล็ต ตลอดจนการแก้ไขปัญหายอดนิยมอย่างเช่น Wi-Fi ไม่ทำงาน กล้องไม่ทำงาน หรือการแก้ไขปัญหา G-Sensor ไม่ทำงาน เป็นต้น

  • สำรองค่าไดรเวอร์ของแท็บเล็ต
    • ดึงไฟล์ไดรเวอร์เข้าสู่คอมพิวเตอร์
    • แก้ไขไฟล์ไดรเวอร์และบันทึกค่า
    • ดึงไฟล์ไดรเวอร์กลับสู่แท็บเล็ต
  • แก้ไข Wi-Fi ไม่ทำงาน (แบบที่ 1)
  • แก้ไข Wi-Fi ไม่ทำงาน (แบบที่ 2)
  • แก้ไขกล้องไม่ทำงาน
  • แก้ไขปัญหาปลดล็อกแท็บเล็ตไม่ได้
    • แก้ปัญหาด้วยคำสั่ง wipe data/factory reset
    • แก้ปัญหาด้วยชุดคำสั่ง ADB
  • แก้ไขปัญหา G-Sensor ไม่ทำงาน
    • ดึงไฟล์ script.bin และ gsensor.cfg มาไว้คอมพิวเตอร์
    • ตรวจสอบชื่อชุดอุปกรณ์ G-Sensor
    • ตรวจสอบสถานะการทำงานของ G-Sensor
    • ดึงไฟล์ script.bin และ gsensor.cfg กลับสู่แท็บเล็ต

บทที่ 6 การแฟลชรอม

ข้อดีอย่างหนึ่งของการใช้แท็บเล็ต Android คือ เราสามารถปรับแต่งแท็บเล็ตให้แรงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการแฟลชรอมได้ ซึ่งการแฟลชรอมก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่รู้วิธีค้นหาและเลือกใช้รอมให้เป็น บทนี้จะสอนเทคนิคการเลือกรอมที่มีคุณภาพ และมาดูกันว่าจะแฟลชรอมอย่างไรไม่ให้เครื่องค้าง

  • แฟลชรอมคืออะไร
  • โครงสร้างรอมของแท็บเล็ต
  • ค้นหารอมได้จากที่ไหน
  • เทคนิคอ่านข้อมูลไฟล์รอมก่อนดาวน์โหลด
  • แฟลชรอมผ่านโปรแกรม LiveSuit
  • แฟลชรอมด้วย SD Card ผ่านโปรแกรม PhoenixCard

บทที่ 7 ปูพื้นฐานเรื่องเครื่องมือวัด

สัญญาณหนึ่งที่จะบอกได้ว่าแท็บเล็ตของคุณทำงานปกติหรือไม่ปกติ นอกจากการดูด้วยตาเปล่าแล้ว การใช้เครื่องมือวัดเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยบอกถึงอาการผิดปกติเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนแม่นยำ ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงการใช้งานเครื่องมือวัดอย่างมัลติมิเตอร์ซึ่งมีทั้งแบบเข็มและตัวเลข พร้อมเรียนรู้การเลือกใช้ย่านวัดที่ถูกต้องด้วย

  • รู้จักมัลติมิเตอร์ในเบื้องต้น
  • มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
    • วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง
    • วัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ
    • วัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง
  • มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข
    • ตำแหน่งการปรับย่านวัด
    • วัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง
    • วัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ
    • วัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ

บทที่ 8 อ่านและวัดค่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในแท็บเล็ต

ก่อนจะลงมือตรวจซ่อมแผงวงจรบนบอร์ดของแท็บเล็ต พื้นฐานหนึ่งที่คุณควรเข้าใจนั่นก็คือ การทำงานเบื้องต้นของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวิธีการวัดค่าอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นการประยุกต์ใช้กับเครื่องมือวัด เช่น การวัดค่าความต้านทาน, การวัดค่าตัวอ่านประจุ และการวัดค่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ เป็นต้น

  • การอ่านและวัดค่าตัวต้านทาน
    • ตัวต้านทานแบบคงที่
    • ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
    • วัดค่าตัวต้านทานแบบคงที่
    • วัดค่าตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
  • การอ่านและวัดค่าตัวเก็บประจุ
    • การอ่านค่าตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลต์
    • การอ่านค่าตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก
    • การอ่านค่าตัวเก็บประจุชนิดไมลาร์
    • สรุปวิธีการอ่านค่าตัวเก็บประจุ
    • การวัดค่าตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลต์
    • การวัดค่าตัวเก็บประจุชนิดเซรามิกและไมลาร์
  • การอ่านและวัดค่าไดโอด
    • ซีเนอร์ไดโอด
    • ไดโอดเปล่งแสง
    • การวัดค่าไดโอดและซีเนอร์ไดโอด
    • การวัดค่าไดโอดเปล่งแสง
  • การอ่านและวัดค่าทรานซิสเตอร์
    • การวัดค่าทรานซิสเตอร์แบบ NPN
    • การวัดค่าทรานซิสเตอร์แบบ PNP
    • ตรวจสอบอาการเสียของทรานซิสเตอร์

บทที่ 9 การถอดเครื่องแท็บเล็ตเพื่อซ่อม

ในบทนี้นอกจากจะอธิบายเทคนิคการถอดเครื่องแท็บเล็ตอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รวมถึงการแยกชิ้นส่วนสำคัญๆ ออกจากบอร์ดของแท็บเล็ตแล้ว เรายังจะได้เรียนรู้พัฒนาการและไดอะแกรมฟังก์ชันการทำงานของซีพียูไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะเรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับการถอดและซ่อมแท็บเล็ตเช่นเดียวกัน

  • ลำดับขั้นตอนการซ่อมแท็บเล็ต
  • พัฒนาการของซีพียู
  • ไดอะแกรมการทำงานของซีพียู
    • ระบบการแสดงผล
    • ระบบเซ็นเซอร์
    • ระบบกล้องและวิดีโอ
    • คีย์บอร์ดและหน่วยความจำเสริม
    • ระบบเสียง
    • ระบบการเชื่อมต่อ
    • ระบบภาคจ่ายไฟ
  • จุดแตกต่างของไดอะแกรมซีพียู A31 กับ A13
  • การถอดเครื่องแท็บเล็ต
  • ชิปและไอซีของเครื่องแท็บเล็ต
  • ขั้นตอนการแกะบอร์ดของแท็บเล็ต
  • พอร์ตและสวิตช์บนบอร์ดของแท็บเล็ต
  • การถอดจอทัชสกรีนและจอ LCD

บทที่ 10 วิเคราะห์อาการเสียผ่านบอร์ดของแท็บเล็ต

หัวใจหลักของการทำงานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่แผงวงจร ซึ่งแผงวงจรของแท็บเล็ตก็อยู่บนบอร์ดทั้งสิ้น คุณสามารถสังเกตและวัดค่าความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านบอร์ดของแท็บเล็ตโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดระดับสูง เพียงแค่มีมัลติมิเตอร์ก็สามารถวิเคราะห์อาการเสียได้อย่างง่ายดาย

  • สอบถามข้อมูลจากลูกค้า
  • วิเคราะห์ปัญหา
  • วัดแบบเย็นหรือวัดแบบร้อน
  • สรุปอาการเสียและลงมือซ่อม
  • เทคนิคการตรวจวัดแบบเย็น
    • การตรวจวัดตัวเก็บประจุ
    • การตรวจวัด Filter Choke
    • การตรวจวัดไมโครสวิตช์
  • เทคนิคการตรวจวัดแบบร้อน
    • การตรวจวัดช่องเสียบ DC
    • การตรวจวัดตัวเก็บประจุ
    • การตรวจวัด Filter Choke
    • การตรวจวัดไมโครสวิตช์

บทที่ 11 รู้จักภาคจ่ายไฟและ Power IC

เวลาที่พบปัญหาแท็บเล็ตใช้การไม่ได้โดยมีอาการเปิดเครื่องไม่ติด เราจำเป็นต้องตรวจสอบที่ภาคจ่ายไฟในส่วนต่างๆ และ Power IC ในบทนี้จะแนะนำวิธีการตรวจสอบหาความผิดปกติของภาคจ่ายไฟ และรู้จักการทำงานของ Power IC รวมถึงอาการผิดปกติที่แผงวงจร

  • รู้จักการทำงานของ Power IC
  • อ่านไดอะแกรมของ Power IC
  • ตรวจสอบภาคจ่ายไฟของ
  • ไมโครสวิตช์ปิด-เปิดเครื่อง
  • ตรวจสอบกระแสไฟเข้าเครื่องขณะชาร์จ
  • ตรวจสอบภาคจ่ายไฟ Power IC AXP209
  • ตรวจสอบระบบไฟจอและการแสดงผลภาพ
  • ตรวจสอบอาการผิดปกติของลำโพง

บทที่ 12 วิธีถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสีย

บทสุดท้ายนี้เราจะเรียนรู้วิธีการถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ในแท็บเล็ตอย่างถูกต้อง เช่น ชุดลำโพง, ชุดหน้าจอ LCD, ชุดแบตเตอรี่, พอร์ต Micro-USB, ช่องเสียบชุดชาร์จไฟ DC หรือชุดไมโครสวิตช์ปิด-เปิดเครื่อง รวมทั้งข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือถอดเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้

  • ถอดเปลี่ยนลำโพง
  • ถอดเปลี่ยนหน้าจอ LCD
  • ถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่
  • ใช้งานเครื่องเป่าลมร้อน
    • การปรับตั้งค่าเครื่องเป่าลมร้อน
    • ข้อควรระวังในการใช้เครื่องเป่าลมร้อน
  • ถอดเปลี่ยนพอร์ต Micro-USB
  • ถอดเปลี่ยนช่องเสียบชุดชาร์จไฟ
  • ถอดเปลี่ยนชุดไมโครสวิตช์