ครบสูตรงานออกแบบวิศวกรรม SolidWorks 2016

ผู้เขียน: ภานุมาศ สุวรรณ์
ธีรกฤษณ์ วิจิตลิมาภรณ์
ISBN: 978-616-7897-44-8
จำนวนหน้า: 320 หน้า
ขนาด: 16.5 x 19 x 1.6 ซม.
รูปแบบหนังสือ: พิมพ์ 4 สี

ราคาปก: 269 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 240 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    อธิบายรายละเอียดที่ควรรู้อย่างครบถ้วน เข้าใจง่ายแม้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน อาทิ...
  • ควบคุมมุมมองชิ้นงาน ให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงเป้าหมาย
  • วาดเส้นร่างหลายรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบง่ายๆ จนถึงรูปแบบซับซ้อน
  • ออกแบบชิ้นงาน 3 มิติด้วยการสร้างระนาบแบบต่างๆ และเพิ่มความหนาแบบหลากหลาย
  • ปรับแต่งแก้ไขชิ้นงาน 3 มิติ หรือประกอบชิ้นงานเข้าด้วยกัน
  • สร้างงานเขียนแบบหรือพิมพ์เขียว เพื่อส่งต่องานไปยังลูกค้า, ช่างเทคนิค หรือฝ่ายผลิต
  • กำหนดภาพเคลื่อนไหวของชิ้นงาน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความถูกต้องเหมาะสม

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่เริ่มต้นมีความสนใจการสร้างชิ้นงาน 3 มิติ
  • นักศึกษาวิชาเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
  • ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ต้องการสร้างชิ้นงาน 3 มิติ เพื่อใช้ในการแสดงสินค้าออนไลน์ต่างๆ

ต้องมีอะไรบ้างเพื่อใช้ทดลองทำตามตัวอย่างในหนังสือ

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบ Windows
  • โปรแกรม SolidWorks 2016 หรือเวอร์ชันอื่นๆ ก็ได้

ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้

  • ความรู้เบื้องต้นในการอ่านและเขียนแบบ หรือรู้เพียงหน่วยวัดต่างๆ ที่จะใช้ในการออกแบบก็ได้
  • ความรู้ในการใช้งาน Windows


ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างงานได้ที่ไหน

บทที่ 1 SolidWorks เบื้องต้น

SolidWorks เป็นซอฟต์แวร์ประเภท CAD (Computer Aided Design) ซึ่งช่วยทั้งการออกแบบชิ้นงานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่ส่วนประกอบที่เรียบง่ายของวัตถุทั่วไป เช่น กลอน, ประตู, เข็มขัด, บานพับ จนไปถึงเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่มีการทำงานซับซ้อนเฉพาะทาง ตั้งแต่เริ่มต้นจากหน้าว่างๆ ในหน้าต่างโปรแกรม ไปจนถึงเสร็จพร้อมที่จะสร้างขึ้นมาเป็นชิ้นงานจริงๆ

  • SolidWorks ใช้ทำงานอะไร
  • สเปกคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งาน SolidWorks
  • เมื่อเริ่มใช้งาน SolidWorks ครั้งแรก
  • ส่วนประกอบในหน้าต่างโปรแกรม
  • ลองสร้างชิ้นงานใน SolidWorks
  • การเปิดและบันทึกชิ้นงานใน SolidWorks
  • ตั้งค่า SolidWorks เบื้องต้นก่อนเริ่มทำงาน
    • เปลี่ยนฉากหลัง
    • กำหนดหน่วยวัด

บทที่ 2 การควบคุมมุมมองชิ้นงาน

การทำงานกับชิ้นงานในโปรแกรม SolidWorks โดยส่วนใหญ่เราจะทำงานกับรูปทรงที่เป็น 3 มิติคือ มีความ กว้าง, ยาว และหนา (ลึก) ซึ่งจำเป็นต้องตรวจดูมุมมองในหลายด้าน ทั้งย่อ/ขยาย และปรับเปลี่ยนระนาบมุมมอง เพื่อตรวจดูชิ้นงานให้ถูกต้องตรงใจ วิธีการควบคุมมุมมองต่างๆ ดังกล่าวจะช่วยให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงความต้องการ

  • ทำงานกับระนาบ
  • เปลี่ยนมุมมองระนาบในแบบต่างๆ
  • ปรับการแสดงผลเป็นหลายหน้าจอ
  • ย่อหรือขยายมุมมอง
  • เลือกการแสดงผลชิ้นงานในหน้าต่างโปรแกรม

บทที่ 3 ใช้เครื่องมือวาดเส้นร่าง

รูปทรง 3 มิติในโปรแกรม SolidWorks สร้างมาจากรูปทรงแบบ 2 มิติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างรูปทรง 2 มิติให้เกิดความชำนาญ เพื่อช่วยให้สร้างรูปทรงแบบ 3 มิติได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด

  • ความแตกต่างระหว่างโลก 2 มิติและโลก 3 มิติ
  • การเปลี่ยนมุมมองแบบรวดเร็ว
  • การทำงานกับเส้นตรง
    • กำหนดความยาวให้กับเส้นตรง
    • กำหนดให้เส้นตรงมีความยาวเท่ากัน
    • กำหนดองศาในมุมของเส้นตรง
  • การทำงานกับเส้นสี่เหลี่ยม
    • วิธีกำหนดความยาวของเส้นสี่เหลี่ยม
    • วิธีกำหนดสี่เหลี่ยมด้านเท่า
    • วิธีสร้างเส้นสี่เหลี่ยมในแบบต่างๆ
  • การทำงานกับเส้นวงกลม
  • สร้างวงกลมแบบ Perimeter

บทที่ 4 ใช้เครื่องมือวาดเส้นร่างระดับสูง

ในบทที่ผ่านมาคุณได้ศึกษาวิธีสร้างเส้นร่างพื้นฐานได้แก่ เส้นตรง, เส้นสี่เหลี่ยม และเส้นวงกลม ซึ่งสามารถนำไปใช้สร้างรูปร่างทั่วไปได้ แต่ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน รูปทรงของตัวชิ้นงานจะมีความหลากหลายกว่า คุณจึงต้องศึกษาวิธีการสร้างเส้นร่างที่ตอบสนองความต้องการดังกล่าวด้วย

  • สร้างรูปทรงหลายเหลี่ยม
  • สร้างเส้นโค้งจากวงกลม
  • สร้างเส้นโค้งต่อจากเส้นร่าง
  • สร้างเส้นโค้งแบบกำหนดจุดเริ่มและจุดสิ้นสุด
  • สร้างเส้นรูปวงรี
  • สร้างเส้นโค้งจากวงรี
  • สร้างเส้นโค้งแบบพาราโบลา
  • สร้างเส้นโค้งแบบกรวย
  • สร้างเส้นโค้งต่อเนื่อง

บทที่ 5 เทคนิคการเขียนเส้นร่างที่ต้องรู้

นอกจากเรียนรู้วิธีการสร้างเส้นร่างรูปทรงต่างๆ แล้ว ในโปรแกรม SolidWorks ยังมีเทคนิคการใช้งานกับเส้นร่างที่ควรรู้เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการทำงาน ช่วยให้ลดเวลาการทำงานกับเส้นร่างได้เป็นอย่างดี

  • เปลี่ยนขนาดและรูปร่างของเส้นร่าง
  • เปลี่ยนสีของเส้นร่างและสลับมุมมองสี
  • ใช้เส้น Centerline กำหนดจุดกึ่งกลาง
  • สร้างเส้นขอบ
  • คัดลอกแบบส่องกระจก
  • หลากวิธีการตัดเส้นส่วนเกิน
  • การยืดเส้นเชื่อมต่อกัน

บทที่ 6 เทคนิคการย้ายตำแหน่งและลดเวลาการเขียนเส้นร่าง

เทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้เพื่อช่วยย่นระยะเวลาการสร้างชิ้นงาน คือการก็อปปี้เส้นร่างต่างๆ เพื่อสร้างเส้นใหม่ขึ้นมา ซึ่งในโปรแกรม Solid Works จะมีคำสั่งสำหรับช่วยก็อปปี้หลากหลายแบบ เพื่อสร้างรูปร่างของชิ้นงานอย่างรวดเร็ว และเที่ยงตรงในการกำหนดรูปทรงออกมาอย่างไม่ผิดพลาด

  • ย้ายตำแหน่งวางเส้นร่าง
  • ย้ายเส้นร่างแบบก็อปปี้จากต้นฉบับ
  • ย้ายเส้นร่างแบบเปลี่ยนองศา
  • ย้ายเส้นร่างแบบย่อขยาย
  • ย้ายเส้นร่างแบบดึงเส้นให้ยืด
  • คัดลอกเส้นร่างจำนวนมากแบบเส้นตรง
  • ตัดความสัมพันธ์ของเส้นวงกลมที่คัดลอก
  • คัดลอกเส้นร่างจำนวนมากแบบหมุนเป็นวงกลม

บทที่ 7 เข้าสู่โลก 3 มิติใน SolidWorks

มนุษย์เราอาศัยอยู่ในโลกที่อ้างอิงวัตถุในระนาบแบบ 3 มิติคือ มีความกว้าง, ยาว, ลึก(หนา) โดยพื้นฐานแล้วเราสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างวัตถุ 2 มิติ และ 3 มิติได้ด้วยผ่านการใช้สายตามองหรือใช้มือสัมผัส สำหรับรูปทรงในคอมพิวเตอร์ก็ใช้ระนาบในการอ้างอิงแบ่งแยกตำแหน่งวัตถุเช่นกัน ซึ่งความสำคัญของระนาบใน SolidWorks ก็คือการใช้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับวางตำแหน่งวัตถุต่างๆ นั่นเอง

  • เริ่มต้นสร้างระนาบ
  • สร้างระนาบใหม่ในรูปแบบต่างๆ
    • สร้างระนาบแบบ Parallel
    • สร้างระนาบแบบ Perpendicular
    • สร้างระนาบแบบ Coincident
    • สร้างระนาบแบบ At angle
    • สร้างระนาบแบบ Mid Plane
  • วิธีสร้างวัตถุในระนาบใหม่
  • แก้ไขเปลี่ยนแปลงระนาบที่ได้สร้างไว้
  • วิธีเปลี่ยนการแสดงผลระนาบใหม่

บทที่ 8 สร้างชิ้นงาน 3 มิติด้วยการเพิ่มความหนา

นอกจากการสร้างรูปทรงต่างๆ ภายใต้เครื่องมือช่วยวาดเส้นแล้ว ความสามารถอันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของโปรแกรม SolidWorks ที่จำเป็นต้องเรียนรู้คือ การแปลงเส้นร่าง 2 มิติให้กลายเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งบทนี้คุณจะได้เรียนรู้พื้นฐานการสร้างวัตถุ 3 มิติเบื้องต้น ด้วยการเพิ่มความหนาให้กับเส้นร่างในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างชิ้นงานให้เป็นรูปทรงที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  • เพิ่มความหนาให้กับเส้นร่าง 2 มิติ
  • สร้างความหนาแบบอ้างอิงจากมุม
  • กำหนดความหนาจากระยะห่างของระนาบหรือพื้นผิว
  • สร้างความหนาจากจุดกึ่งกลางเส้นร่าง
  • สร้างความหนาแบบปรับปลาย
  • สร้างความหนาแบบแยกสองทิศทาง
  • สร้างความหนาเฉพาะเส้นร่าง
  • สร้างความหนาและผนึกรวมกับวัตถุ 3 มิติอื่น
  • เทคนิคเสริมการใช้งาน

บทที่ 9 ประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน

การนำเอาส่วนต่างๆ ของชิ้นงานตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปมารวมกัน โดยในบทนี้จะแนะนำการสร้างชิ้นงานส่วนหน้า และส่วนหลัง การเปลี่ยนสีชิ้นงาน การสร้างส่วนโค้งเพื่อใช้ประกบ แล้วนำมาประกอบรวมกัน พร้อมการย้ายและหมุนส่วนต่างๆ ก่อนนำมารวมกันให้ตรงตามร่องรอยที่กำหนดเอาไว้เสร็จแล้ว ก็ให้แสดงผลลัพธ์ที่ได้

  • สร้างระนาบรูปทรงด้านหน้า
  • คว้านเนื้อด้านใน
  • สร้างขอบเพื่อประกบชิ้นงานอื่น
  • เปลี่ยนสีชิ้นงาน
  • เริ่มต้นการนำชิ้นงานมารวมกัน
  • ประกบกันด้วยคำสั่ง Mate
  • ซ่อนหรือแสดงชิ้นงาน

บทที่ 10 สร้างงานเขียนแบบหรือพิมพ์เขียว

Drawing เป็นรูปแบบการนำเอาส่วนของ Part และ Assembly มาเขียนแสดงในกระดาษเขียนแบบหรือพิมพ์เขียว เพื่อเตรียมส่งต่องานไปยังลูกค้า, ช่างเทคนิค หรือฝ่ายผลิต ซึ่งเราสามารถกำหนดให้แสดงตามขนาดกระดาษ โดยภาพที่แสดง จะเป็นชิ้นงานในมุมมอง 2 มิติ

  • กำหนดค่าเทมเพลต
  • เปิดงานเขียนแบบจากเทมเพลต
  • แก้ไขรูปแบบชีต
  • บันทึกไฟล์รูปแบบงานเขียนแบบ
  • กำหนดรายละเอียดออปชันเพิ่มเติม
  • สร้างงานเขียนแบบของชิ้นส่วนต่างๆ
  • ย้ายตำแหน่งชิ้นงานเขียนแบบ
  • แสดงรายละเอียดของงานเขียนแบบ
  • แก้ไขการแสดงรายละเอียด
  • ตรวจสอบชิ้นงานที่มีการแก้ไข
  • แสดงชิ้นงานบนกระดาษเขียนแบบขนาดอื่น
  • เพิ่มมุมมองอื่น
  • พิมพ์งานเขียนแบบ

บทที่ 11 สร้างชิ้นงานด้วย Lofts

Loft เป็นการสร้างเนื้อของวัตถุ ด้วยการเชื่อมต่อเส้นรอบนอกที่สเก็ตซ์ไว้บนระนาบต่างๆ ซึ่งจะแนะนำการสร้างรูปหัวค้อน ตั้งแต่การขึ้นรูปทรง โดยเริ่มด้วยการร่าง, กำหนดขนาดหัวค้อน, คัดลอกการสเก็ตซ์ แล้วใช้ความสามารถของ Loft ไปสร้างส่วนปลายของค้อน เพื่อนำเอาสองส่วนมาเชื่อมต่อกัน

  • กำหนดการแสดงระนาบ
  • สร้างระนาบส่วนอื่นๆ
  • กำหนดขนาดส่วนหัว
  • เริ่มต้นร่างหัวค้อน
  • กำหนดเส้นผ่านศูนย์กลาง
  • คัดลอกงานสเก็ตซ์
  • ใช้คำสั่ง Loft เพื่อสร้างเนื้อวัตถุ
  • สร้างส่วนปลายค้อน
  • จับชิ้นส่วนปลายและหัวค้อนมารวมกัน
  • ปรับงอปลายโค้งเพิ่มความเหมือนจริง

บทที่ 12 สร้างภาพการเคลื่อนไหวของชิ้นงาน

การจำลองการทำงานให้กับชิ้นงาน การเคลื่อนไหวของแขนกล หรือการทำงานของสิ้นส่วนทางด้านงานอุตสาหกรรม เพื่อดูตำแหน่งการทำงาน ศึกษาการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ทราบถึงลักษณะของการปรากฏในขณะนั้น หากเหมาะสมจะได้ย้ายตำแหน่งการทำงาน หรือนำเสนอสาธิตการทำงานให้กับลูกค้าได้ชม

  • กำหนดการเคลื่อนไหวด้วยตำแหน่ง
    • เปิดไฟล์ชิ้นงาน
    • กำหนดตำแหน่งเริ่มต้น
    • กำหนดตำแหน่งสิ้นสุด
    • เปลี่ยนเวลาการแสดงแอนิเมชัน
    • ซ่อนบางส่วนของชิ้นงาน
    • เปลี่ยนสีให้คอมโพเน้นต์
    • ควบคุมการเล่นแอนิเมชัน
    • แปลงไฟล์แอนิเมชันเป็นวิดีโอ
  • แสดงการเคลื่อนไหวในตำแหน่งที่แม่นยำ
    • ตั้งค่าระยะทาง Mate ที่ Keypoint
    • ใส่ View Keys และ Calculate
    • หมุนชิ้นงานเพื่อให้เคลื่อนไหว
    • ยกเลิกการเล่นในแบบ View Keys
    • ยกเลิก View Keys ที่สร้างขึ้น

บทที่ 13 ใช้งานคุณสมบัติ eDrawings

เครื่องมือสำหรับใช้เปิดดูชิ้นงานและแชร์ชิ้นงานให้กับผู้อิ่น โดยไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรม SolidWorks ก็สามารถเปิดดูชิ้นงานนี้ได้ รองรับชิ้นงานในแบบ 3 มิติและ 2 มิติ เมื่อเปิดชิ้นงานขึ้นมาแล้วสามารถหมุน แสดงด้านหน้า, ด้านหลังหรือด้านข้างของชิ้นงาน, แสดงแต่ละชิ้นส่วน, แสดงการเคลื่อนไหวของชิ้นงาน และอื่นๆ

  • eDrawings มีกี่เวอร์ชัน
  • เปิดชิ้นงานใน eDrawings
  • บันทึกไฟล์เป็น eDrawings
  • การแชร์ไฟล์ให้ผู้อื่น
  • เปิดไฟล์ที่แชร์
  • การเปิดดูคอมโพเนนต์
  • เลือกรูปแบบการแสดงภาพ
  • ควบคุมการเคลื่อนไหวของชิ้นงาน
  • ย้ายชิ้นส่วนในตัวงาน
  • นำชิ้นส่วนกลับที่เดิม
  • สร้างเครื่องหมายบนชิ้นงาน
  • วัดขนาดชิ้นงาน

บทที่ 14 ใช้งาน SOLIDWORKS Explorer

ถ้าเคยใช้งาน Windows Explorer จะสามารถใช้งาน SOLIDWORKS Explorer ได้ไม่ยากเช่นกัน โดยโปรแกรมนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกกับผู้ใช้งาน SolidWorks ช่วยค้นหา, แก้ไข หรือย้ายชิ้นงานต่างๆ ที่ใช้งานในโปรแกรม ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน

  • เปิดใช้งาน SOLIDWORKS Explorer
  • ควบคุมหน้าต่างโปรแกรม
  • เปิดชิ้นงานในโฟลเดอร์
  • ค้นหาชิ้นงาน
  • เปิดชิ้นงานในหน้าต่าง SolidWorks
  • คัดลอกและแก้ไขชื่อชิ้นงาน
  • ลบไฟล์ชิ้นงาน