Google Analytics เก็บสถิติและวิเคราะห์เว็บ+แอปให้ครบสูตร

ผู้เขียน: ธัญธัช นันท์ชนก
ISBN: 978-616-7897-47-9
จำนวนหน้า: 280 หน้า
ขนาด: 16.5 x 19 x 1.3 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 225 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 200 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    เครื่องมือฟรีชั้นดีที่ช่วยให้รู้จักผู้ชมเว็บหรือผู้ใช้แอปอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน ความสามารถของ Google Analytics มีอยู่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น...
  • เก็บสถิติการเข้าชมเว็บและการใช้แอปในสมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตอย่างละเอียด+ครบวงจร
  • วิเคราะห์คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้ชมเว็บและผู้ใช้แอป ซึ่งช่วยให้เราปรับปรุงเว็บและแอปให้ตรงกับความต้องการของผู้ชมและผู้ใช้อย่างถูกทิศทาง
  • แสดงรายงานผลการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมรอบด้านและอ่านง่าย เช่น เช็ก Traffic แบบ Real Time, ดูข้อมูลเฉพาะของผู้ชม, เช็ก Traffic Source หรือติดตาม Conversion ที่เกิดขึ้น ฯลฯ
  • ประยุกต์ใช้ข้อมูลสถิติและผลการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเว็บและแอป พร้อมทั้งวางแผนการตลาดอย่างได้ผล

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้พัฒนาเว็บไซต์หรือเว็บมาสเตอร์
  • นักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์พกพา อย่างพวกสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต

ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้

  • ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็น
  • มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์รวมถึงแอปพลิเคชัน

มีอะไรบ้างเพื่อทำตามตัวอย่างในหนังสือ

  • คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


บทที่ 1 Google Analytics แนะนำตัว

หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่อง Google Analytics เพราะฉะนั้นบทแรกเราจึงควรมาทำความรู้จักกันก่อนว่า Google Analytic คืออะไรและมีประโยชน์อะไรกับเราบ้าง

  • รู้จักกับ Google Analytics Solutions
    • สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (Small Business)
    • สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise)
    • สำหรับโมบายล์แอป (Mobile Apps)
  • รู้จักกับ Google Analytics
  • Google Analytics เหมาะกับใครบ้าง
  • ฟีเจอร์เด่นของ Google Analytics
  • Property ใน Google Analytics
  • ศัพท์เฉพาะใน Google Analytics

บทที่ 2 สมัคร Google Analytics และติด Tracking Code

การสมัครบัญชี Google Analytics แล้วนำ Tracking Code ไปติดในเว็บไซต์ (หรือแอป) อาจเป็นเรื่องยุ่งยากอยู่บ้างสำหรับมือใหม่ แต่ถ้าอ่านบทนี้แล้วรับรองว่าทำตามได้แน่นอน

  • สรุปขั้นตอนการใช้บริการ Google Analytics
  • สมัครบัญชี Google
  • เริ่มสมัครใช้งาน Google Analytics
  • สร้างบัญชี Google Analytics
  • ติด Tracking Code ในเว็บไซต์
    • ทางเลือกในการติด Tracking Code
    • ตัวอย่างการติด Tracking Code ในเว็บไซต์
  • ตรวจสอบว่า Tracking Code ทำงานหรือไม่
    • ตรวจสอบด้วยการส่งการเข้าชมทดสอบ
    • ตรวจสอบผ่านรายงานการเข้าชมแบบเรียลไทม์
    • ตรวจสอบผ่าน Google Tag Assistant
  • สร้าง Property ใหม่ใน Google Analytics
  • ลบ Property ที่ไม่ได้ใช้งาน

บทที่ 3 สำรวจส่วนประกอบของ Google Analytics

สมัครบัญชี Google Analytics เสร็จแล้วก็ไปลองสำรวจส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ Google Analytics กันดู จะได้รู้ว่าตรงไหนมีเอาไว้ใช้ทำอะไรกันบ้าง

  • Navigation links (ลิงก์การนำทาง)
  • Accounts, Settings, and Diagnostics (บัญชี การตั้งค่า และการวินิจฉัย)
  • Report navigation (การเข้าออกส่วนต่างๆ ของรายงาน)
    • Report navigation กรณีเว็บไซต์
    • Report navigation กรณีแอปพลิเคชัน
  • Report header (ส่วนหัวของรายงาน)
  • Add segments (เพิ่มกลุ่ม)
    • เพิ่ม Segment ใหม่
    • สร้าง Segment ใหม่
  • Report tabs (แท็บรายงาน)
  • Graph view (มุมมองกราฟ)
  • Data table view (มุมมองตารางข้อมูล)

บทที่ 4 ทำงานกับ Dashboard ของ Google Analytics

Dashboard เป็นเหมือนศูนย์รวมการรายงานผลของ Google Analytics ซึ่งเราสามารถปรับแต่ง Dashboard ให้แสดงรายงานตามที่ต้องการได้ด้วย

  • Dashboard คืออะไร
  • วิธีเปิดเข้าสู่ Dashboard
  • สร้างและลบ Dashboard
    • สร้าง Dashboard ใหม่
    • ลบ Dashboard ทิ้งไป
  • เปลี่ยนชื่อให้ Dashboard
  • จัดการกับ Widget ใน Dashboard
    • เพิ่ม Widget
    • ลบ Widget
    • ตั้งค่าออปชันให้ Widget
  • ปรับเปลี่ยนเลย์เอาต์ของ Dashboard
  • เพิ่ม Widget รายงานส่วนต่างๆ ลงใน Dashboard

บทที่ 5 สร้างและจัดการ Shortcut ของรายงาน

การสร้าง Shortcut ใน Google Analytics ช่วยให้เราเข้าถึงรายงานที่ดูบ่อยได้อย่างรวดเร็ว เราเข้าไปดูรายงานส่วนไหนบ่อย มาลองสร้างเป็น Shortcut ไว้ดีกว่า

  • ประโยชน์ของการสร้าง Shortcut ให้รายงาน
  • สร้าง Shortcut ใหม่
  • เปลี่ยนชื่อให้ Shortcut
  • ลบ Shortcut ที่ไม่ได้ใช้งาน
  • ค้นหา Shortcut ที่สร้างไว้
  • ใช้งาน Shortcut ที่สร้างไว้

บทที่ 6 ติดตามการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทราฟฟิกผ่านรายงานหมวด “กิจกรรมอัจฉริยะ”

รายงานหมวดนี้ใช้ดูข้อความแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการเข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งมีทั้งการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติ และการแจ้งเตือนที่เรากำหนดเงื่อนไขขึ้นมาเอง

  • รู้จักรายงานหมวด “กิจกรรมอัจฉริยะ” (Intelligence Events)
  • ดูรายงาน “ภาพรวม” (Overview)
  • ดูรายงาน “กิจกรรมรายวัน” (Daily Events)
  • ดูรายงาน “กิจกรรมรายสัปดาห์” (Weekly Events)
  • ดูรายงาน “กิจกรรมรายเดือน” (Monthly Events)
  • วิธีการสร้าง Custom Alerts

บทที่ 7 เช็กทราฟฟิกแบบเรียลไทม์ผ่านรายงานหมวด “เรียลไทม์”

รายงานหมวดนี้ช่วยให้เรามองเห็นได้ทันทีทันใดว่า เว็บไซต์กำลังมีทราฟฟิกมากน้อยแค่ไหน แถมยังรายงานข้อมูลของทราฟฟิกเหล่านั้นได้อย่างละเอียดอีกต่างหาก

  • รู้จักรายงานหมวด “เรียลไทม์” (Real-Time)
  • ดูรายงาน “ภาพรวม” (Overview)
  • ดูรายงาน “สถานที่ตั้ง” (Locations)
  • ดูรายงาน “แหล่งที่มาของการเข้าชม” (Traffic Sources)
  • ดูรายงาน “เนื้อหา” (Content)
  • ดูรายงาน “เหตุการณ์” (Events)
  • ดูรายงาน Conversion

บทที่ 8 สำรวจคุณลักษณะของผู้ชมผ่านรายงานหมวด “ผู้ชม”

ส่วนนี้เป็นรายงานส่วนหลักที่สำคัญที่สุดในระบบ Google Analytics ก็ว่าได้ อยากรู้อะไรเกี่ยวกับผู้ชมเว็บไซต์ของเราบ้าง รายงานในหมวดหมู่นี้แสดงสถิติไว้อย่างครบครันแล้ว

  • รู้จักรายงานหมวด “ผู้ชม” (Audience)
  • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
  • รายงาน “ผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่” (Active Users)
  • รายงาน “การวิเคราะห์ตามการได้มา” (Cohort Analysis)
  • รายงาน “โปรแกรมสำรวจผู้ใช้” (User Explorer)
  • รายงานในหมวดย่อย “ข้อมูลประชากร” (Demographics)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “อายุ” (Age)
    • รายงาน “เพศ” (Gender)
  • รายงานในหมวดย่อย “ความสนใจ” (Interests)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “หมวดหมู่ผู้สนใจ” (Affinity Categories)
    • รายงาน “กลุ่มที่มีแผนจะซื้อ” (In-Market Segments)
    • รายงาน “หมวดหมู่อื่นๆ” (Other Categories)
  • รายงานในหมวดย่อย “ภูมิศาสตร์” (Geo)
    • รายงาน “ภาษา” (Language)
    • รายงาน “สถานที่ตั้ง” (Location)
  • รายงานในหมวดย่อย “พฤติกรรม” (Behavior)
    • รายงาน “ผู้เข้าชมใหม่ vs ที่กลับมาอีก” (New vs Returning)
    • รายงาน “ความถี่และความใหม่” (Frequency & Recency)
    • รายงาน “ความผูกพัน” (Engagement)
  • รายงานในหมวดย่อย “เทคโนโลยี” (Technology)
    • รายงาน “เบราว์เซอร์และระบบปฏิบัติการ” (Browser & OS)
    • รายงาน “เครือข่าย” (Network)
  • รายงานในหมวดย่อย “มือถือ” (Mobile)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “อุปกรณ์” (Devices)
  • รายงานในหมวดย่อย “การเปรียบเทียบ” (Benchmarking)
    • รายงาน “แชแนล” (Channels)
    • รายงาน “สถานที่ตั้ง” (Location)
    • รายงาน “อุปกรณ์” (Devices)
    • รายงาน “กระแสผู้ใช้” (Users Flow)

บทที่ 9 เปรียบเทียบทราฟฟิกจากแหล่งต่างๆ ผ่านรายงานหมวด “การกระทำ”

รายงานหมวดนี้ใช้ในการเปรียบเทียบจำนวนทราฟฟิกจากแหล่งต่างๆ เช่น จากการค้นหา, จากการอ้างอิง, จากอีเมล, จากแคมเปญ AdWords, จาก SEO หรือจากแคมเปญการตลาดอื่นๆ

  • รู้จักรายงานหมวด “การกระทำ” (Acquisition)
  • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
  • รายงานในหมวดย่อย “การเข้าชมทั้งหมด” (All Traffic)
    • รายงาน “แชแนล” (Channels)
    • รายงาน “แผนภูมิทรีแม็ป” (Treemaps)
    • รายงาน “แหล่งที่มา/สื่อ” (Source/Medium)
    • รายงาน “ผ่านการอ้างอิง” (Referrals)
  • รายงานในหมวดย่อย AdWords
    • รายงาน “แคมเปญ” (Campaigns)
    • รายงาน “แผนภูมิทรีแม็ป” (Treemaps)
    • รายงาน “ไซต์ลิงก์” (Sitelinks)
    • รายงาน “การปรับราคาเสนอ” (Bid Adjustments)
    • รายงาน “คำหลัก” (Keywords)
    • รายงาน “ข้อความค้นหา” (Search Queries)
    • รายงาน “ชั่วโมงของวัน” (Hour of Day)
    • รายงาน “URL สุดท้าย” (Final URLs)
    • รายงาน “การกำหนดเป้าหมายในเครือข่ายดิสเพลย์” (Display Targeting)
    • รายงาน “แคมเปญวิดีโอ” (Video Campaigns)
    • รายงาน “แคมเปญ Shopping” (Shopping Campaigns)
  • รายงานในหมวดย่อย Search Console
    • รายงาน “หน้า Landing Page” (Landing Pages)
    • รายงาน “ประเทศ” (Countries)
    • รายงาน “อุปกรณ์” (Devices)
    • รายงาน “ข้อความค้นหา” (Queries)
  • รายงานในหมวดย่อย “สังคม” (Social)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “การอ้างอิงเครือข่าย” (Network Referrals)
    • รายงาน “หน้า Landing Page” (Landing Pages)
    • รายงาน “Conversion”
    • รายงาน “ปลั๊กอิน” (Plugins)
    • รายงาน “กระแสผู้ใช้” (Users Flow)
  • รายงานในหมวดย่อย “แคมเปญ” (Campaigns)
    • รายงาน “ทุกแคมเปญ” (All Campaigns)
    • รายงาน “คำหลักที่ต้องชำระเงิน” (Paid Keywords)
    • รายงาน “คำหลักที่เกิดขึ้นเอง” (Organic Keywords)
    • รายงาน “การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย” (Cost Analysis)

บทที่ 10 สำรวจพฤติกรรมของผู้ชมเว็บไซต์ผ่านรายงานหมวด “พฤติกรรม”

รายงานหมวดนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ชม โดยจะเน้นไปที่เนื้อหา, ประสิทธิภาพการทำงาน, ความสามารถในการค้นหา และความสามารถในการโต้ตอบกับผู้ชมของเว็บไซต์

  • รู้จักรายงานหมวด “พฤติกรรม” (Behavior)
  • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
  • รายงาน “โฟลวพฤติกรรม” (Behavior Flow)
  • รายงานในหมวดย่อย “เนื้อหาไซต์” (Site Content)
    • รายงาน “ทุกหน้า” (All Pages)
    • รายงาน “การเจาะลึกเนื้อหา” (Content Drilldown)
    • รายงาน “หน้า Landing Page” (Landing Pages)
    • รายงาน “หน้าที่ออก” (Exit Pages)
  • รายงานในหมวดย่อย “ความเร็วไซต์” (Site Speed)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “การจับเวลาหน้าเว็บ” (Page Timings)
    • รายงาน “คำแนะนำเกี่ยวกับความเร็ว” (Speed Suggestions)
    • รายงาน “ระยะเวลาของผู้ใช้” (User Timings)
  • รายงานในหมวดย่อย “การค้นหาไซต์” (Site Search)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “การใช้งาน” (Usage)
    • รายงาน “ข้อความค้นหา” (Search Terms)
    • รายงาน “หน้า” (Pages)
  • รายงานในหมวดย่อย “กิจกรรม” (Events)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “กิจกรรมยอดนิยม” (Top Events)
    • รายงาน “หน้า” (Pages)
    • รายงาน “โฟลวเหตุการณ์” (Events Flow)
  • รายงานในหมวดย่อย “ผู้เผยแพร่โฆษณา” (Publisher)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “หน้าผู้เผยแพร่โฆษณา” (Publisher Pages)
    • รายงาน “ผู้อ้างอิงของผู้เผยแพร่โฆษณา” (Publisher Referrers)
  • รายงาน “การทดสอบ” (Experiments)
  • รายงาน “Analytics ในหน้าเว็บ” (In-Page Analytics)

บทที่ 11 กำหนดเป้าหมายและติดตามผลผ่านรายงานหมวด Conversion

รายงานหมวดนี้จะช่วยวัด Conversion หรืออัตราความสำเร็จของเป้าหมายที่เรากำหนดค่าไว้ เช่น มีคนคลิกเข้าไปลงทะเบียน มีคนดาวน์โหลดไฟล์ หรือหากต้องการวัดผลด้าน Ecommerce ก็ทำได้เช่นกัน

  • รู้จักรายงานหมวด Conversion
  • รายงานในหมวดย่อย “เป้าหมาย” (Goal)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “URL เป้าหมาย” (Goal URLs)
    • รายงาน “เส้นทางเป้าหมายย้อนกลับ” (Reverse Goal Path)
    • รายงาน “การแสดงช่องทาง” (Funnel Visualization)
    • รายงาน “โฟลวเป้าหมาย” (Goal Flow)
  • รายงานในหมวดย่อย “อีคอมเมิร์ซ” (Ecommerce)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงานในหมวดย่อย “การวิเคราะห์การจับจ่าย” (Shopping Analysis)
    • รายงาน “ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์” (Product Performance)
    • รายงาน “ประสิทธิภาพการขาย” (Sales Performance)
    • รายงาน “ประสิทธิภาพรายการผลิตภัณฑ์” (Product List Performance)
    • รายงานในหมวดย่อย “การตลาด” (Marketing)
  • รายงานในหมวดย่อย “ช่องทางหลากหลายแชแนล” (Multi-Channel Funnels)
    • รายงาน “ภาพรวม” (Overview)
    • รายงาน “Conversion ที่ได้รับการสนับสนุน” (Assisted Conversions)
    • รายงาน “เส้นทาง Conversion ยอดนิยม” (Top Conversion Paths)
    • รายงาน “เวลาหน่วง” (Time Lag)
    • รายงาน “ความยาวเส้นทาง” (Path Length)
  • รายงานในหมวดย่อย “การระบุแหล่งที่มา” (Attribution)
    • รายงาน “เครื่องมือเปรียบเทียบโมเดล” (Model Comparison Tool)

บทที่ 12 สร้าง Custom Report ผ่าน Customization

Google Analytics เตรียมรายงานผลไว้ให้เราอย่างละเอียดยิบทุกแง่มุม แต่ถ้าเราต้องการสร้างรายงานใหม่ที่กำหนดค่าเองไว้ใช้งานเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ไม่ยาก

  • รู้จัก Custom Report
  • สร้าง Custom Report ใหม่
  • สร้าง Category ใหม่ให้ Custom Report
  • นำเข้า Custom Report จาก Gallery
  • จัดการกับ Custom Report และ Category

บทที่ 13 จัดการ Account ใน Google Analytics

ภายใต้บัญชี Google บัญชีเดียวกัน เราสามารถสร้างบัญชี Google Analytics ได้หลายบัญชี บทนี้เราจะไปศึกษาวิธีการจัดการบัญชี Google Analytics กันดู

  • วิธีเปิดเข้าไปจัดการ Account ใน Google Analytics
  • สร้างบัญชี Google Analytics ใหม่
  • คำสั่ง “การตั้งค่าบัญชี” (Account Settings)
  • คำสั่ง “การจัดการผู้ใช้” (User Management)
  • คำสั่ง “ตัวกรองทั้งหมด” (All Filters)
  • คำสั่ง “ประวัติการเปลี่ยนแปลง” (Change History)
  • คำสั่ง “ถังขยะ” (Trash Can)

บทที่ 14 จัดการ Property ใน Google Analytics

อยากจัดการกับ Property ใน Google Analytics เช่น ตั้งค่า Property, จัดการผู้ใช้, จัดการข้อมูลการติดตาม เป็นต้น หรืออยากสร้าง Property ใหม่ เราก็สามารถทำได้ทั้งหมดในที่เดียว

  • วิธีเปิดเข้าไปจัดการ Property ใน Google Analytics
  • สร้าง Property ใหม่ใน Google Analytics
  • คำสั่ง “การตั้งค่าผลิตภัณฑ์และบริการ” (Property Settings)
  • คำสั่ง “การจัดการผู้ใช้” (User Management)
  • คำสั่งในกลุ่ม “ข้อมูลการติดตาม” (Tracking Info)
    • คำสั่ง “โค้ดติดตาม” (Tracking Code)
    • คำสั่ง “การเก็บรวบรวมข้อมูล” (Data Collection)
    • คำสั่ง “รหัสผู้ใช้” (User-ID)
    • คำสั่ง “การตั้งค่าเซสชัน” (Session Settings)
    • คำสั่ง “แหล่งที่มาของการค้นหาทั่วไป” (Organic Search Sources)
    • คำสั่ง “รายการยกเว้นการอ้างอิง” (Referral Exclusion List)
    • คำสั่ง “รายการยกเว้นข้อความค้นหา” (Search Term Exclusion List)
  • คำสั่ง “การเชื่อมโยง AdWords” (AdWords Linking)
  • คำสั่ง “การเชื่อมโยง AdSense” (AdSense Linking)
  • คำสั่ง “การเชื่อมโยง Ad Exchange” (Ad Exchange Linking)
  • คำสั่ง “ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด” (All Products)
  • คำสั่ง “โพสต์แบ็ค” (Postbacks)
  • คำสั่งในกลุ่ม “คำจำกัดความผู้ชม” (Audience Definitions)
    • คำสั่ง “ผู้ชม” (Audiences)
    • คำสั่ง “แอตทริบิวต์แบบไดนามิก” (Dynamic Attributes)
  • คำสั่งในกลุ่ม “คำจำกัดความที่กำหนดเอง” (Custom Definitions)
    • คำสั่ง “มิติข้อมูลที่กำหนดเอง” (Custom Dimensions)
    • คำสั่ง “เมตริกที่กำหนดเอง” (Custom Metrics)
  • คำสั่ง “การนำเข้าข้อมูล” (Data Import)
  • คำสั่ง “การตั้งค่าเครือข่ายสังคม” (Social Settings)

บทที่ 15 จัดการ View ใน Google Analytics

การจัดการ View ใน Google Analytics หมายถึงการจัดการมุมมองของข้อมูลใน Property นั้นๆ เช่น ตั้งค่า View, จัดการผู้ใช้, กำหนดเป้าหมาย เป็นต้น รวมไปถึงยังสามารถสร้าง View ใหม่ได้ด้วย

  • วิธีเปิดเข้าไปจัดการ View ใน Google Analytics
  • สร้างมุมมองใหม่ใน Google Analytics
  • คำสั่ง “ดูการตั้งค่า” (View Settings)
  • คำสั่ง “การจัดการผู้ใช้” (User Management)
  • คำสั่ง “เป้าหมาย” (Goals)
  • คำสั่ง “การจัดกลุ่มเนื้อหา” (Content Grouping)
  • คำสั่ง “ตัวกรอง” (Filters)
  • คำสั่งในกลุ่ม “การตั้งค่าแชแนล” (Channel Settings)
    • คำสั่ง “การจัดกลุ่มแชแนล” (Channel Grouping)
    • คำสั่ง “จัดการคำที่เป็นแบรนด์” (Manage Brand Terms)
  • คำสั่ง “การตั้งค่าอีคอมเมิร์ซ” (Ecommerce Settings)
  • คำสั่ง “เมตริกที่คำนวณ” (Calculated Metrics)
  • คำสั่ง “กลุ่ม” (Segments)
  • คำสั่ง “หมายเหตุ” (Annotations)
  • คำสั่ง “รูปแบบการระบุแหล่งที่มา” (Attribution Models)
  • คำสั่ง “การจัดกลุ่มแชเนลที่กำหนดเอง” (Custom Channel Groupings)
  • คำสั่ง “ข้อความแจ้งเตือนที่กำหนดเอง” (Custom Alerts)
  • คำสั่ง “อีเมลที่มีการกำหนดเวลา” (Scheduled Emails)
  • คำสั่ง “ทางลัด” (Shortcuts)
  • คำสั่ง “แชร์เนื้อหา” (Share Assets)