เติมเทคนิคการทำ CD/DVD ให้เต็มประสิทธิภาพ

ผู้เขียน: ภานุมาศ สุวรรณ์
ISBN: 974-92265-4-2
จำนวนหน้า: 448 หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ
แถม CD

ราคาปก: 245 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 210 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    รวบรวมเทคนิคเกี่ยวกับการทำ CD-R/RW, DVD R/RW และรูปแบบไฟล์มัลติมีเดียนานาชนิด ไว้มากที่สุด พร้อมทั้งเทคนิคการแก้ไขปัญหาต่างๆ อาทิ...

  • การเขียนข้อมูลหลายๆ ครั้งแบบ Multisession, เขียนข้อมูลเกินความจุ CD, เขียน CD/DVD พร้อมกันหลายๆ แผ่น, ก๊อบปี้ข้อมูลทั้งแผ่น (แม้แต่แผ่นที่ใส่รหัสป้องกันก็ยังก๊อบปี้ได้)
  • การทำแผ่น CD/DVD ให้ทำงานเหมือนแผ่นดิสก์, สามารถบูต Windows เอง, สามารถรันเองอัตโนมัติ (Autorun), การตรวจสภาพไดรฟ์, การกู้ข้อมูลจาก CD/DVD
  • การทำอิมเมจไฟล์, เรียกใช้อิมเมจไฟล์เหมือนแผ่น CD/DVD, จัดการข้อมูลภายในอิมเมจไฟล์, ก๊อบปี้ข้อมูลแต่ละแทร็กหรือเซสชันใน CD/DVD มาเป็นอิมเมจไฟล์
  • การแปลงและตกแต่งไฟล์ภาพและเสียง, การทำเมนูและใส่ซับไตเติ้ล, การสร้างและตัดต่อไฟล์วิดีโอ เพื่อเขียนเป็นภาพยนตร์ลงแผ่น CD/DVD รวมทั้งการทำวีซีดีคาราโอเกะ
  • การแปลงภาพยนตร์จากแผ่น DVD มาเขียนลงแผ่น CD ทั้งแบบ miniDVD และเขียนเป็นไฟล์ DivX


บทนำ

  • ใช้ไอคอนระบุขอบข่ายเนื้อหา
  • มีอะไรบ้างในแผ่นซีดีประกอบหนังสือ
    • แนะนำโปรแกรม (และปลั๊กอิน) ที่ใช้งานในหนังสือเล่มนี้
    • แนะนำโปรแกรมที่แถมให้พิเศษในแผ่นซีดี (ภายในโฟลเดอร์ xtra)

ภาคหนึ่ง => เทคนิคเกี่ยวกับ CD และ DVD

บทที่ 1 รู้ลึกๆ เรื่อง CD-R/RW จนถึง DVD

ก่อนที่จะเรียนรู้เทคนิคลูกเล่นต่างๆ เพื่อเขียนซีดีหรือดีวีดี เราควรทำความเข้าใจหลักการและวิธีการทำงานของเทคโนโลยีซีดีและดีวีดีให้ชัดเจน โดยเจาะลึกไปจนถึงเบื้องหลังที่หลายๆ คนอาจไม่เคยรู้มาก่อน แม้แต่คำศัพท์เทคนิคที่บางคนอาจมองข้าม และโหมดการเขียนซีดีแต่ละโหมดในโปรแกรม Nero Burning ROM

  • หน่วยความเร็วเป็น x หมายความว่าอย่างไร
  • buffer และ burnproof สำคัญขนาดไหน
  • track และ session คืออะไร
  • ระบบเก็บข้อมูลในแผ่น CD มีกี่แบบและแตกต่างกันอย่างไร
    • CD-ROM (ISO), CD-ROM (UDF) และ CD-ROM (UDF/ISO)
    • Audio CD
    • Video CD
    • Mixed Mode CD
    • CD EXTRA
    • CD Copy
    • Super Video CD
    • miniDVD
    • CD-ROM (Boot)
    • CD-ROM (Hybrid)
  • อะไรคือความแตกต่างระหว่าง CD-R กับ CD-RW
  • Disc-at-once กับ Track-at-once ไม่เหมือนกันตรงไหน
  • ทำไมนิยม Nero Burning ROM กันนัก
  • อยากให้เมนูคำสั่งในโปรแกรม Nero เป็นภาษาไทย ต้องทำอย่างไร

บทที่ 2 เทคนิคเขียนข้อมูล

หลายคนอาจรู้จักการเขียนซีดีในลักษณะ Multisession อยู่แล้ว แต่ไม่รู้วิธีการที่ถูกต้อง ผมจะมาเปิดเผยให้ทราบอย่างละเอียดในบทนี้ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการเขียนซีดีที่เรามักใช้บ่อยๆ จนอาจเรียกได้ว่าเป็น "สูตรสำเร็จ" เลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังแนะนำเทคนิคการเขียนซีดีให้คุ้มค่ากับความจุ รวมถึงวิธีการก๊อบปี้แผ่นซีดีหรือดีวีดี แม้ว่าจะใส่รหัสป้องกันการก๊อบปี้เอาไว้ก็ตาม

  • เตรียมตัวก่อนทำ
  • เขียนข้อมูลหลายๆ ครั้งแบบ Multisession
    • กุญแจสำคัญอยู่ที่ตัวเลือก 3 อย่างในแท็บ Multisession
    • อยากรู้ว่าแผ่นไหนเขียนข้อมูลเป็น Multisession เอาไว้ จะตรวจสอบอย่างไร
  • เฉลยสูตรสำเร็จการเขียน CD ที่มักพบบ่อยๆ
    • DVD มีสูตรสำเร็จในการเขียนข้อมูลเหมือน CD หรือเปล่า
  • ทดสอบแผ่น CD ว่าเขียนเกินความจุได้แค่ไหน
    • วัดผลการเขียนในลักษณะปกติ
    • วัดผลการอ่าน
    • วัดผลการโอเวอร์เบิร์น
  • วิธีตั้งค่าเพื่อเขียน CD เกินความจุ
  • เขียน CD/DVD พร้อมกันหลายๆ แผ่น
  • ก๊อบปี้ (โคลนนิ่ง) CD/DVD ทั้งแผ่น
    • ทำความเข้าใจหลักการทำงาน
    • เริ่มกระบวนการโคลนนิ่ง
  • เขียน Audio CD อย่างไร ถ้าอยากให้แสดงชื่อเพลง-ชื่อนักร้องตอนเล่นกับเครื่องเล่นซีดี

บทที่ 3 เทคนิคใช้ประโยชน์จากไฟล์อิมเมจ

การเขียนซีดีหรือดีวีดี ไม่จำเป็นต้องเขียนลงแผ่นโดยตรงทันที เราสามารถเขียนเป็น "อิมเมจไฟล์" ก่อน แล้วค่อยนำมาใช้เป็น "แม่พิมพ์" ในการเขียนแผ่นซีดีหรือดีวีดีภายหลัง ซึ่งจะช่วยให้การเขียนแผ่นรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะถ้าต้องการเขียนซีดีหรือดีวีดีจำนวนมากๆ แต่ใช่ว่าอิมเมจไฟล์มีหน้าที่แค่นั้น ในบทนี้ผมจะเสนอวิธีการประยุกต์ใช้อิมเมจไฟล์ในด้านอื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  • ทำอิมเมจไฟล์สบายใจกว่า
    • แจกแจงขั้นตอนการทำ
    • เขียนแผ่น CD/DVD จากอิมเมจไฟล์
    • สามวิธีแก้ไขข้อมูลในอิมเมจไฟล์
  • เรียกใช้อิมเมจไฟล์เหมือนแผ่น CD/DVD
  • จัดการไฟล์หรือข้อมูลภายในอิมเมจไฟล์
  • ก๊อบปี้ข้อมูลแต่ละแทร็กหรือเซสชันใน CD/DVD มาเป็นอิมเมจไฟล์

บทที่ 4 เทคนิคทำแผ่น CD/DVD ให้มีคุณลักษณ์พิเศษ

หลายท่านอาจเคยสงสัยว่า เราจะเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีหรือดีวีดี ในลักษณะเดียวกับการเขียนข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ได้ไหม, เราจะทำให้แผ่นซีดีหรือดีวีดีสามารถบูต Windows เหมือนแผ่นดิสก์ได้หรือเปล่า, เวลาใส่แผ่นซีดีหรือดีวีดีเข้าไปในไดรฟ์แล้วมันรันเองทันทีได้อย่างไร คำถามเหล่านี้มีคำตอบอยู่ในบทนี้ทั้งสิ้น!

  • ทำแผ่น CD/DVD ให้เหมือนแผ่นดิสก์
  • ทำแผ่น CD/DVD บูต Windows เอง
    • เตรียมแผ่นดิสก์เป็นแผ่นบูต
    • เขียนแผ่น CD/DVD ให้บูตได้
  • ทำแผ่น CD/DVD ให้รันเองอัตโนมัติ
    • เตรียมรูปภาพเป็นไอคอนสัญลักษณ์แทนแผ่น CD/DVD
    • สร้างไฟล์ Autorun.inf
    • บันทึกแผ่น CD/DVD ให้มีคุณสมบัติ Autorun
  • ระงับการรันแผ่น CD/DVD แบบอัตโนมัติ

บทที่ 5 เทคนิคเสริมการทำงาน บวกแก้ไขปัญหา

ไม่ว่าทำงานอะไรก็ตาม ถึงแม้ตั้งใจทำอย่างรัดกุมแล้ว แต่ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ก็มักจะมีโอกาสเกิดขึ้นเสมอ โดยไม่อาจคาดเดาได้ ในบทนี้ผมจะเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้งานรวมทั้งการเขียนซีดีและดีวีดี เพื่อให้คุณเตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้า มิต้องพลาดพลั้งอับจนสิ้นหนทางแก้เวลาที่เจอปัญหาเข้ากับตัวเอง

  • ตรวจสภาพไดรฟ์ด้วย Nero InfoTool ว่าเป็นอย่างไร
  • กู้ข้อมูลจาก CD/DVD ด้วยฝีมือ BadCopy Pro
  • ความหวังสุดท้ายคือการกู้ข้อมูลด้วยวิธีลูกทุ่ง
  • ติดตั้ง CD/DVD Writer ตัวใหม่ แล้ว Windows มองไม่เห็นไดรฟ์ตัวเดิม จะทำอย่างไร
  • เขียน CD/DVD ไม่ได้ เพราะเจอ "Drive is in use by another application" จะทำอย่างไร
  • ไดรฟ์ CD/DVD ทำงานช้ามาก จะแก้ไขปัญหาอย่างไร

ภาคสอง => เทคนิคเกี่ยวกับภาพและเสียง

บทที่ 6 เทคนิคแปลงไฟล์วิดีโอ

ไฟล์มัลติมีเดียมีอยู่มากมายหลากชนิดหลายฟอร์แมต แต่มีแค่ไม่กี่ชนิดที่ได้รับความนิยม ถ้าคุณมีไฟล์วิดีโอที่ใครเห็นแล้วต้องตะลึง แต่ไฟล์นั้นเป็นฟอร์แมตที่ไม่นิยมใช้กันแพร่หลาย คนอื่นไม่สามารถนำไปเปิดดูในเครื่องของตัวเอง มันก็ยากที่จะทำให้เขารู้ว่าคุณมีอะไรดีๆ มานำเสนอ บทนี้เราจึงควรทำความรู้จักชนิดต่างๆ ของไฟล์มัลติมีเดีย และมาศึกษาวิธีการแปลงไฟล์เป็นชนิดหรือฟอร์แมตสากลที่สุดในโลก

  • แจกแจงรูปแบบไฟล์มัลติมีเดียนานาชนิด
  • เตรียมโปรแกรมแปลงไฟล์ให้พร้อมใช้งาน
  • แปลงไฟล์วิดีโอรูปแบบต่างๆ เป็น MPEG-1
  • แปลงภาพเคลื่อนไหวให้เป็นภาพนิ่ง
  • แปลงไฟล์ Quick Time เป็นไฟล์วิดีโอ

บทที่ 7 เทคนิคปรุงแต่งไฟล์วิดีโอ

ไฟล์วิดีโอที่เรามีและเก็บไว้ดูเอง ย่อมอยู่ในความสนใจของเราอยู่แล้ว แต่ถ้านำไปให้คนอื่นๆ ดูล่ะ เขาจะสนใจชมดูเหมือนเราหรือเปล่า เนื้อหาในไฟล์วิดีโอของคุณอาจจะดี แต่ถ้ารูปแบบการนำเสนอไม่สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมแล้วล่ะก็ คงยากที่จะดึงดูดให้ใครติดใจได้ ในบทนี้ผมจะเสนอวิธีการเสริมสร้างจุดเด่นให้แก่ไฟล์วิดีโอ ที่ใครเห็นแล้วต้องลืมไม่ลงแน่ๆ

  • ทำเมนูเลือกภาพยนตร์ใน CD
    • เตรียมส่วนประกอบที่ต้องใช้กันก่อน
    • แจกแจงรายละเอียดทีละขั้น
  • เติมเอฟเฟ็กต์เพิ่มความเร้าใจแก่ไฟล์วิดีโอ
    • นำไฟล์วิดีโอเข้ามาในโปรแกรม
    • ใส่เอฟเฟ็กต์ลูกเล่นต่างๆ
    • นำไฟล์วิดีโอที่ปรับแต่งแล้วมาใช้งาน
  • ใส่ซับไตเติ้ลในไฟล์วิดีโอ
    • ใส่ซับไตเติ้ลแบบไม่ฝังลงในวิดีโอ
    • ใส่ซับไตเติ้ลแบบฝังติดถาวร

บทที่ 8 เทคนิคแปลงไฟล์เสียง

ไฟล์เสียงเป็นไฟล์มัลติมีเดียอีกจำพวกหนึ่งที่มีฟอร์แมตต่างๆ หลากหลายชนิด แต่ทุกฟอร์แมตก็บรรจุสิ่งเดียวกัน นั่นคือ เสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลงหรือเสียงอะไรก็ตาม ในบทนี้เราจะลองมาแปลงไฟล์เสียงต่างๆ ให้กลายเป็นฟอร์แมตที่เราต้องการ เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บรักษา หรือแจกจ่ายให้แก่ผู้อื่นต่อไป

  • แปลงแทร็กเพลงเป็นไฟล์หลากหลายชนิด
  • แก้ปัญหาการแสดงชื่อเพลงภาษาไทยใน Easy CD-DA Extractor
  • แปลงไฟล์เสียงกลับไปกลับมา
  • แปลงไฟล์เพลงหลากชนิดเป็นแทร็กเพลง
  • แปลงเสียงร้องเป็นโน้ตดนตรี
  • แปลงไฟล์ MIDI เป็นไฟล์ WAVE

บทที่ 9 เทคนิคปรุงแต่งเสียงเพลง

สำหรับคนที่ชอบฟังเพลง เมื่อฟังจนเบื่อแล้ว จะลบเพลงทิ้งก็เสียดาย เรามาลองดัดแปลงเพลงให้มีสีสันแปลกๆ ใหม่ๆ กันไหมครับ โดยการใส่เอฟเฟ็กต์ลูกเล่นต่างๆ เข้าไปในเพลง เผื่อจะทำให้เกิด "เหล้าเก่าในขวดใหม่" ที่มีรสชาติเร้าใจอย่างที่ไม่เคยฟังมาก่อน

  • แนะนำให้รู้จัก Nero SoundTrax ก่อน
  • ทำ Crossfade ช่วงรอยต่อระหว่างเพลง
  • เล่นเพลงพร้อมกันหลายๆ เพลง
  • ใส่เอฟเฟ็กต์ให้แก่เสียงเพลง
    • ข้อแนะนำ+คำเตือนในการใส่เอฟเฟ็กต์
  • ปรับความดังของเสียงให้เท่ากันทุกเพลง

บทที่ 10 เทคนิครวมไฟล์/แยกไฟล์

บางครั้งเราเห็นภาพสวยๆ หรือฟังเสียงเพลงเพราะๆ จากวีซีดีหรือดีวีดีภาพยนตร์ แล้วต้องการนำมาใช้เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ต้องการภาพแต่ไม่เอาเสียง, ต้องการเสียงแต่ไม่เอาภาพ หรือต้องการเนื้อหาทั้งภาพและเสียงเพียงบางส่วนจากหนังทั้งเรื่อง หลายคนอาจนึกว่าวิธีการทำคงจะยุ่งยาก แต่แท้ที่จริงแล้ว หากรู้จักประยุกต์ใช้เครื่องมือเพียงไม่กี่ขั้นตอน เราก็จะได้สิ่งที่ต้องการอย่างง่ายๆ ซึ่งผมจะมาแนะนำในบทนี้

  • รวม MPEG หลายๆ ไฟล์ให้เป็นไฟล์เดียว
  • แยกภาพและเสียงออกจากกัน
  • รวมภาพและเสียงเข้าด้วยกัน
  • ตัดแบ่งวิดีโอบางส่วนจากไฟล์วิดีโอเดิม

บทที่ 11 เพิ่มความบันเทิงทั้งภาพและเสียง

ถ้าคุณต้องการจะแสดงฝีมือทำอะไรสักอย่างเพื่อให้คนอื่นรู้สึกทึ่ง ผมเชื่อว่าเนื้อหาในบทนี้เป็นอีกบทหนึ่งที่จะสนองความต้องการของคุณได้เป็นอย่างดี อย่างการสร้างอัลบั้มภาพที่ประกอบด้วยเทคนิคลูกเล่นมากมาย หรือการทำวีซีดีคาราโอเกะที่ไม่มีใครเหมือน รวมถึงการก๊อบปี้เพลงจากเว็บไซต์ด้วยวิธีพิสดารพันลึก ทั้งๆ ที่เจ้าของเพลงป้องกันการก๊อบปี้ไว้แล้วอย่างรัดกุม

  • รวมอัลบั้มภาพใส่ VCD แบบไม่จำเจ
  • ทำ VCD คาราโอเกะไม่ใช่เรื่องยาก
    • เตรียมภาพวิดีโอประกอบคาราโอเกะ
    • สร้างเนื้อร้องสำหรับใส่เข้าไปในไฟล์วิดีโอ
    • ตัดเสียงร้องในเพลงธรรมดาให้กลายเป็นเพลงคาราโอเกะ
    • ประกอบทุกๆ ส่วนให้กลายเป็นไฟล์เดียว
  • บันทึกเสียงสารพัดผ่านคอมพิวเตอร์

ภาคสาม => เทคนิคเกี่ยวกับหนัง DVD

บทที่ 12 รู้ลึกๆ เรื่อง DVD R/RW และหนัง DVD

บทแรกของภาคสาม ผมจะพาคุณย่างก้าวเข้าสู่อาณาจักรใหม่ของการบันทึกข้อมูลที่กำลังมาแรง ด้วยความจุที่มหาศาล และคุณภาพที่ดีกว่าทั้งภาพและเสียง หากกล่าวว่า "ซีดี" คือสื่อหนึ่งที่ร่วมปฏิวัติเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลดิจิตอลแล้วล่ะก็ อีกสื่อหนึ่งที่ช่วยพลิกโฉมหน้าการบันทึกข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง ย่อมเป็นสิ่งอื่นใดไปไม่ได้...นอกจาก "ดีวีดี"

  • แผ่น DVD แตกต่างกับแผ่น CD ยังไงบ้าง
  • ชื่อเรียกแผ่น DVD ตามความจุซึ่งไม่เท่ากัน
  • ประเภทของแผ่น DVD ที่บันทึกได้และบันทึกไม่ได้
  • โซนหนังเกี่ยวข้องอะไรกับแผ่น DVD
  • แล้ว VCD กับ DVD ภาพยนตร์มีอะไรบ้างที่ไม่เหมือนกัน
    • VCD ต้องเป็น MPEG-1 แต่ DVD ต้องเป็น MPEG-2
    • เปรียบเทียบภาพ VCD กับ DVD ให้เห็นจะจะ
    • ทำไมแยกเป็นระบบ NTSC กับระบบ PAL
    • เสียงใน DVD สมจริงสมจังกว่า VCD
    • DVD ใส่ซับไตเติ้ลได้มากกว่า VCD แค่ไหน
  • Letterbox กับ Anamorphic คืออะไร-แตกต่างกันอย่างไร
  • โหมดการเขียนแผ่น DVD มีอะไรบ้าง

บทที่ 13 เทคนิคก๊อบปี้ส่วนต่างๆ ของหนังแผ่น DVD

ลักษณะการบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีที่นิยมกันมากที่สุด ได้แก่ การบันทึกเป็นดีวีดีภาพยนตร์ ซึ่งในบทนี้เองเราจะเจาะลึกถึงส่วนประกอบต่างๆ ของภาพยนตร์ในดีวีดีเพื่อความเข้าใจ และแยกแยะส่วนประกอบเหล่านั้นออกมา ไม่ว่าจะเป็นภาพวิดีโอ, เสียง, ซับไตเติ้ล เสมือนหนึ่งช่างผู้ชำนาญถอดแยกชิ้นส่วนจากเครื่องยนต์

  • ไฟล์ .VOB, .IFO, .BUP ในแผ่นหนัง DVD สำคัญอย่างไร
  • หนังแผ่น DVD มีลักษณะเด่นตรงไหนบ้าง
  • เตรียมพร้อมก่อนทดลองก๊อบปี้
  • ก๊อบปี้หนังจาก DVD ทั้งแผ่นลงในฮาร์ดดิสก์
  • ก๊อบปี้เฉพาะซับไตเติ้ล
  • ก๊อบปี้เฉพาะเสียง
  • ก๊อบปี้เฉพาะตัวภาพวิดีโอ

บทที่ 14 เทคนิคแปลงหนัง DVD สลับกับ CD

แม้ว่าภาพยนตร์ในแผ่นดีวีดีจะมีคุณภาพดีที่สุด แต่สื่อที่สามารถเข้าถึงผู้คนทั่วไปได้กว้างขวางที่สุดยังคงเป็นแผ่นซีดี ดังนั้นสำหรับบทนี้ เราจะนำภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดีมาแปลง แล้วบันทึกใหม่เป็นวีซีดี เพื่อจะได้สามารถนำไปเผยแพร่แก่คนอื่นๆ และในทางกลับกัน ผมจะเปิดเผยเทคนิคการนำไฟล์วิดีโอในแผ่นวีซีดี มาเก็บในรูปแบบของดีวีดีภาพยนตร์บ้าง เผื่อจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้

  • แปลงหนัง DVD ให้เป็น VCD (MPEG-2 => MPEG-1)
  • บันทึกหนังลง CD ให้คมชัดเท่า DVD (MPEG-2 => MPEG-2)
  • สะสมหนัง VCD เก็บไว้ใน DVD (MPEG-1 => MPEG-1)

บทที่ 15 แปลงหนัง DVD เป็น DivX เพื่อเขียนลง CD

โลกเราเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา แล้วรูปแบบไฟล์วิดีโอชนิดใหม่ก็กำเนิดขึ้นมา แม้จะยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างเท่ากับรูปแบบยอดนิยมอย่าง MPEG-1 หรือ MPEG-2 แต่ผมเชื่อมั่นว่าไม่ช้าก็เร็ว ด้วยคุณภาพที่ไม่ด้อยไปกว่าดีวีดีภาพยนตร์ (MPEG-2) สักเท่าไร แต่ประหยัดเนื้อที่กว่าหลายเท่าตัว ไฟล์วิดีโอชนิดที่เรียกว่า DivX จะกลายเป็นฟอร์แมตสามัญที่สุดที่ทุกคนต้องรู้จักดีแน่นอน!

  • DivX คืออะไรกันแน่
  • ทำความเข้าใจขั้นตอนกันก่อน
  • ก๊อบปี้ไฟล์หนังจากแผ่น DVD
  • สร้างไฟล์ DivX
  • ใส่ซับไตเติ้ลในไฟล์ DivX
  • เขียนไฟล์ DivX ลงในแผ่น CD

บทที่ 16 สร้างหนัง DVD ด้วยฝีมือเราเอง

ในบทก่อนๆ เราได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะส่วนประกอบของภาพยนตร์จากดีวีดีกันมาแล้ว สำหรับบทสุดท้ายนี้ ผมจะเสนอวิธีการสร้างแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มด้วยการจัดเตรียมส่วนประกอบต่างๆ ไปจนถึงการหลอมรวมส่วนประกอบเหล่านั้นให้กลายเป็นงานภาพยนตร์ที่โดดเด่น สามารถนำไปอวดโฉมให้ผู้อื่นได้ชมอย่างไม่น้อยหน้าใคร

  • ทำความเข้าใจก่อนสร้าง
  • รวบรวมไฟล์ต้นฉบับสำหรับทำหนัง
  • เข้ารหัสไฟล์วิดีโอให้กลายเป็น MPEG-2
  • เปลี่ยนไฟล์ .dat ให้กลายเป็น .mpg
  • ประกอบไฟล์และสร้างเมนูเลือกหนัง+เลือกตอน
  • เขียนลงแผ่น DVD เป็นขั้นสุดท้าย

ภาคผนวก แนะนำเว็บไซต์เกี่ยวกับ CD/DVD