เก่ง ASP.net ให้ครบสูตร

ผู้เขียน: สุรัตน์ บัณฑิตลักษณะ
ISBN: 974-90054-2-2
จำนวนหน้า: 237 หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 195 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 170 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    ASP.NET เป็นภาษารุ่นต่อไปของ ASP ซึ่งมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ คุณจะได้พบกับ...
    • ความเป็นมาและเป็นไปของ ASP.NET ตลอดจนวิธีการสร้างและการทดสอบแก้ไขโปรแกรม
    • สารพัด Web Form Control ซึ่งเป็นลูกเล่นใหม่ๆ ของ ASP.NET
    • เทคนิคการเชื่อมต่อฐานข้อมูลด่วน ADO.NET พร้อมทั้งการใช้งานกับข้อมูลในรูป XML
    • ตัวอย่างซอร์ซโค้ดมากมาย เพื่อการพัฒนา web application ทั้งภาษา VB.NET และ C# พร้อมคำอธิบายอย่างละเอียดทุกบรรทัด!


บทที่ 1 เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการปฏิวัติครั้งใหญ่!

ASP.NET ไม่ใช่แค่เพียงการเปลี่ยนเวอร์ชันของ ASP ธรรมดาเท่านั้น แต่นี่คือ การปฏิวัติรูปแบบการเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บครั้งยิ่งใหญ่ โปรแกรมเมอร์หลายๆ คน พูดกันถึงขนาดว่า นี่คือการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดอีกครั้งที่ไมโครซอฟต์จะทำให้เป็นจริง และครั้งนี้ดูจะมีความสำคัญยิ่งกว่าตอนที่เปลี่ยนแปลงจากดอส ซึ่งเป็นระบบตัวอักษร มาเป็น Windows ที่เป็นระบบกราฟิกเสียอีก

  • "ซอฟต์แวร์ในเว็บ" วิสัยทัศน์จากไมโครซอฟต์
  • ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง?
  • ลงมือติดตั้งโปรแกรมพร้อมใช้งาน ASP.NET
  • ทดสอบ ASP.NET ก่อนลุยงานจริง

บทที่ 2 VB.NET หรือ C# ภาษาไหนได้เปรียบกว่า?

หลังจากไมโครซอฟต์ กำหนดให้เว็บเพจที่เป็น ASP.NET สามารถพัฒนาจากภาษาหลักถึง 3 ภาษา คือ VB, C# และ JScript คำถามที่ตามมาคือ "ใช้ภาษาไหนเขียนเว็บเพจได้ดีที่สุด" ในบทนี้ ผมจึงตั้งใจจะแสดง syntax ของแต่ละภาษาให้เห็นกันเลยว่า คุณควรใช้ภาษาไหนดี และส่วนไหนที่ C# ได้เปรียบ ส่วนไหนที่ VB ได้เปรียบ

  • กำหนดภาษาที่ใช้ให้ชัดเจนตั้งแต่หัวเอกสาร
  • เขียนหมายเหตุสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการหลงลืม
  • VB กับ C# ประกาศตัวแปรต่างกันตรงไหน
  • สร้างตัวแปรแบบอ็อบเจ็กต์เพื่อถ่ายทอดคุณสมบัติ
  • ใช้ตัวแปรแบบอาร์เรย์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ
  • คำสั่งประเภทเงื่อนไข และการทำงานวนรอบ
  • สั่งการอ็อบเจ็กต์ของ ASP.NET ด้วย VB และ C#

บทที่ 3 "เพิ่มคอนโทรล" มีค่าเท่ากับ "ลดสคริปต์ฟุ่มเฟือย"

นอกจากการเปลี่ยนแปลงภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนสคริปต์ ASP.NET แล้ว ไมโครซอฟต์ยังได้สร้างสิ่งแปลกใหม่อีกอย่างหนึ่ง เพื่อลดการเขียนสคริปต์ฟุ่มเฟือยได้อย่างเหลือเชื่อ สิ่งแปลกใหม่นี้ไมโครซอฟต์ได้ตั้งชื่อเอาไว้ว่า "คอนโทรล"

  • จุดประสงค์ของคอนโทรล
  • วิธีการเขียนคำสั่งเรียกใช้งานคอนโทรล
  • หมวดหมู่ของคอนโทรล
  • หมวด Intrinsic Controls
  • หมวด List Controls
  • หมวด Rich Controls
  • หมวด Validation Controls

บทที่ 4 ADO.NET และ namespace หนทางเชื่อมต่อฐานข้อมูลแนวใหม่

การเชื่อมต่อฐานข้อมูลมักจะถูกกล่าวถึงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเราจะศึกษาถึงวิธีการเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ASP.NET ก็เช่นกัน การเชื่อมต่อฐานข้อมูลสำหรับภาษานี้ เป็นการเชื่อมต่อฐานข้อมูล "แนวใหม่" ซึ่งแทบจะไม่หลงเหลือร่องรอยวิธีการเก่าๆ ที่มีใน ASP เดิมอีกเลย

  • ADO.NET เปลี่ยนแปลงไปจาก ADO อย่างไร?
  • อ็อบเจ็กต์ ADO กลายไปเป็นคลาสพื้นฐาน
  • ตัดการเชื่อมต่อผ่าน ODBC ทิ้งไป
  • ต้อนรับการมาของ DataSet ลาก่อน RecordSet
  • มีเนมสเปซสำหรับ MS SQL Server และ XML โดยเฉพาะ
  • แสดงข้อมูลจากไฟล์ฐานข้อมูล Microsoft Access

บทที่ 5 แสดงข้อมูลเป็นระเบียบ โดยใช้ DataGrid ล้วนๆ

จากบทที่แล้วในตอนท้ายๆ คุณคงได้เห็นความเก่งกาจของคอนโทรล DataGrid กันไปบ้างแล้ว ก็มีที่ไหนล่ะครับ เขียนแค่ DataGrid คำเดียว ตารางและข้อมูลจากฐานข้อมูล ก็แสดงออกมาอย่างเหลือเชื่อเลย แต่น่าเสียดายว่า หน้าตาผลลัพธ์ที่ DataGrid แสดงออกมายังไม่สวยเท่าที่ควร ดังนั้นในบทนี้ เราจะมาเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหากัน

  • แอตทริบิวต์หมวดสีสันและหน้าตา
  • กำหนดหัวคอลัมน์ของตารางเองดีกว่า
  • เรียงลำดับข้อมูลด้วยแอตทริบิวต์ AllowSorting
  • แบ่งข้อมูลแสดงทีละหน้า (paging)

บทที่ 6 เชื่อมต่อ XML และ MS SQL Server ด้วย namespace เฉพาะตัว

ไมโครซอฟต์เริ่มใช้มาตรการผูกขาดซอฟต์แวร์อีกครั้ง ด้วยการกำหนดให้ ASP.NET มี namespace พิเศษสำหรับติดต่อฐานข้อมูล MS SQL Server โดยตรง ไม่เหมือนกับฐานข้อมูลชนิดอื่นๆ ที่ยังคงจะต้องติดต่อผ่าน OLEDB อยู่ เรามาลองดูกันซิว่า คราวนี้ไมโครซอฟต์จะทำสำเร็จเหมือนตอนที่กำจัดเบราเซอร์ Netscape ออกไปได้รึเปล่า

  • เนมสเปซที่จำเป็นต้องใช้
  • เตรียมฐานข้อมูล MS SQL Server ให้พร้อมก่อนการเชื่อมต่อ
  • แสดงข้อมูลจาก MS SQL Server (ที่เขาว่าเร็วนักหนา)
  • โครงสร้างของ XML
  • อ่านข้อมูล XML ก็เหมือนการอ่านไฟล์ข้อความธรรมดา
  • ใช้เมธอด ReadXml เพื่ออ่านข้อมูล XML โดยเฉพาะ

บทที่ 7 เครื่องมือทุ่นแรงในการแก้ไขข้อมูล

นอกจากความสามารถอันเหนือชั้นในการแปลงข้อมูลและแสดงผลแล้ว คอนโทรล DataGrid ยังสามารถจำลองตัวเองเป็นแบบฟอร์มสารพัดประโยชน์ เอาไว้ให้ผู้ที่ดูข้อมูลคลิกเพื่อแก้ไขได้ด้วย เว็บเพจลักษณะนี้ เหมาะที่จะเป็นระบบ "หลังร้าน" อย่างยิ่ง ลองนึกถึงเว็บบอร์ดก็ ได้ครับ เพราะช่วยให้เราแก้ไขกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้อย่างง่ายดาย

  • คอนโทรล EditCommandColumn ปุ่มสำหรับแก้ไขข้อมูล
  • สร้างโปรแกรมย่อย เพื่อรองรับเหตุการณ์คลิกปุ่ม
  • กำหนดตำแหน่งข้อมูลที่แก้ไขด้วยพรอเพอร์ตี EditItemIndex
  • รู้จักการนับเซลล์และคอนโทรล
  • แปลงค่าคีย์หลักจาก index
  • ผนวกประโยคคำสั่ง SQL กับข้อมูลจาก text box

บทที่ 8 ส่งเมล .NET ง่ายนิดเดียว

ก่อนที่เราจะเรียนรู้วิธีพัฒนาระบบ mailing list แน่นอนว่าความรู้จากเรื่องของการดึงข้อมูลในฐานข้อมูลออกมาแสดง รวมทั้งความรู้จากเรื่องของการลบข้อมูลและแก้ไขข้อมูล คงไม่เพียงพอ เพราะยังมีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญสำหรับระบบ mailing list และเรายังไม่ได้ทดลองทำเลย นั่นคือ การเขียนสคริปต์ส่งอีเมลผ่านเว็บ

  • ส่งเมลง่ายๆ ด้วยเนมสเปซพื้นฐาน ชื่อ System.Web.Mail
  • แบบฟอร์มส่งเมลผ่านเว็บ
  • เทคนิคการซ่อนฟอร์มเอาไว้ไม่ให้ใครเห็น

บทที่ 9 ระบบ mailing list ทั้งหน้าร้านและหลังร้าน

mailing list เป็นอีกระบบหนึ่งที่คุณสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพราะจัดได้ว่าเป็นเครื่องมือยอดฮิตประจำเว็บไซต์ระบบหนึ่งเลยล่ะ แต่น่าเสียดายที่หนังสือทั่วไป ไม่ค่อยพูดถึงวิธีการพัฒนาระบบนี้ขึ้นมา หนังสือ ASP ของผมเองก็เหมือนกัน ยังไม่เคยยก mailing list มาเป็นตัวอย่างเลย… แต่ตอนนี้คงถึงเวลาที่เหมาะสมเสียที

  • เตรียมฐานข้อมูลอีเมล
  • ความสัมพันธ์ของไฟล์ในระบบ
  • ลงทะเบียนสมัครสมาชิก mailing list
  • Email Validation สุดแสนคลาสสิก
  • ไฟล์หัวใจสำคัญ เพื่อจัดการระบบ mailing list
  • ส่งเมล 1 ฉบับ ผู้รับเป็นร้อย

ภาคผนวก ก

วิธีใช้งานคอมโพเนนต์เก่าในแพลตฟอร์ม ASP.NET

  • แปลงคอมโพเนนต์เดิมด้วย Type Library Importer
  • เรียกใช้งานคอมโพเนนต์ด้วยการอิมพอร์ต

ภาคผนวก ข

สารพันเว็บไซต์เกี่ยวกับ ASP.NET

FAQ คำถามที่ถามบ่อย

ดัฃนี