เปิดมิติ Mobile Internet ด้วย WAP

ผู้เขียน: สราวุธ อ้อยศรีสกุล
ISBN: 974-87931-0-9
จำนวนหน้า: xxx หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 245 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 210 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


  • เปิดทุกแง่มุมของ WAP สำหรับผู้อ่านทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ (user), นักท่องอินเทอร์เน็ต (net surfer) หรือนักพัฒนา (developer)
  • เรียนรู้ภาษา WML, WMLScript อย่างเจาะลึก เพื่อเป็นพื้นฐานการนำมาใช้พัฒนา WAP Application
  • เข้าใจการทำงานของ WAP Gateway อย่างทะลุปรุโปร่ง พร้อมการพิสูจน์ให้เห็นจริงรวมถึงโพรโตคอลสื่อสารใน WAP เช่น WSP, WTP, WTLS, WDP
  • ประยุกต์ใช้ภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL เพื่อสร้าง WAP Application อย่างง่าย เช่น ระบบรายงานข้อมูลด่วนทันใจ, ระบบส่งอีเมลผ่าน WAP ฯลฯ
  • เสริมด้วยเทคนิคการพัฒนา WAP Site ร่วมกับ Web Site ภายใต้ domain name เดียวกัน


PART I : เปิดโลกของ WAP

บทที่ 1 หลากหลายแง่มุมในโลกของ WAP

WAP นับเป็นเทคโนโลยีที่เป็นรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเดิม มาเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่คนทั่วไปไม่คุ้นเคยมาก่อน เราจึงเริ่มด้วยการแนะนำ WAP ในหลายแง่มุม เพื่อความเข้าใจของบุคคลหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้โทรศัพท์หรือนักพัฒนา WAP Application โดยนำเสนอแบบถาม-ตอบเหมือนกับ FAQ เรียกได้ว่าเป็นการรวมเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ และน่ารู้เป็นอย่างยิ่ง

  • มุมแนะนำ WAP
  • มุมผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ
  • มุมนักท่องอินเทอร์เน็ต
  • มุมนักพัฒนาแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์
  • มุมเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย
  • ศัพท์สำคัญที่ต้องพบบ่อยๆ
  • ส่งท้ายบท

PART 2 : เครือข่ายและโพรโตตอล

บทที่ 2 จุดกำเนิด WAP… เริ่มจากอินเทอร์เน็ตไร้สาย

ก่อนที่จะรู้จัก WAP ในเชิงลึก ต้องเข้าใจก่อนว่าอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร เพราะ WAP เป็นลักษณะหนึ่งของอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ดังนั้นในบทนี้จะเล่าถึงเรื่องต่างๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับโพรโตคอลในอินเทอร์เน็ต จากนั้นจะค่อยๆ นำผู้อ่านปรับความคุ้นเคยจากโลกของอินเทอร์เน็ตแบบมีสาย ไปสู่โลกของอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ซึ่งลงท้ายกลายเป็น WAP อย่างที่เห็นทุกวันนี้

  • โพรโตคอลคือ
  • TCP/IP หัวใจของระบบอินเทอร์เน็ต
  • ข้อจำกัดของโทรศัพท์มือถือและเครือข่ายไร้สาย
  • เส้นขนานระหว่าง TCP/IP กับเครือข่ายไร้สาย
  • ปฐมบทแห่ง WAP
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 3 เจาะลึก WAP Gateway และโพรโตคอลใน WAP

ช่วงท้ายบทที่แล้ว ได้เอ่ยถึงหน้าที่ของ WAP Gateway ไปบ้าง มาในบทนี้จะกล่าวถึง WAP Gateway อีกครั้ง แต่เป็นในด้านที่ลึกขึ้นกว่าเดิม วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เห็นภาพของ WAP Gateway อย่างชัดเจนและทะลุปรุโปร่ง ตลอดจนเข้าใจขั้นตอนการทำงานที่เกี่ยวข้องระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์, WAP Gateway และโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งโพรโตคอลย่อยๆ ในชุดของ WAP ด้วย

  • WAP Gateway ทำงานอย่างไร
  • ผ่าโครงสร้าง WAP Gateway และฟังก์ชันพื้นฐาน
  • หน้าที่หลักของ WAP Gateway
  • ไล่ดูชั้นสื่อสารของโพรโตคอล WAP ทีละชั้น
  • ต่อภาพโพรโตคอลใน WWW กับ WAP ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
  • ส่งท้ายบท

PART 3 : รู้ไว้ก่อนสร้าง WAP Application

บทที่ 4 ปูพื้นด้วยภาษา XML ก่อนไปเริ่มหัด WML

ภาษา WML นับว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของภาษา XML ที่ได้รับการออกแบบมาให้เหมาะกับการสร้างแอปพลิเคชันในสภาพแวดล้อมแบบไร้สาย ก่อนเริ่มต้นเรียนรู้ WML จึงควรมีพื้นฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับ XML บางส่วนพอสมควร ดังที่จะอธิบายในบทนี้ และในตอนท้ายก็ขอเสริมด้วยเรื่องของ XML Application กับภาษา XHTML ว่าเกี่ยวพันกับ XML อย่างไร

  • ภาษา XML คืออะไร ต่างจากภาษา HTML อย่างไร ?
  • ทำไมต้องมีภาษา XML ด้วย ?
  • รูปร่างหน้าตาของภาษา XML เป็นอย่างไร ?
  • Valid กับ Well-formed ต่างกันอย่างไร ?
  • ไวยากรณ์ของภาษา XML ที่ต้องยึดถือ
  • ประกาศความเป็น XML ให้โลกรู้
  • จำแนกให้ถูกระหว่างอิลิเมนต์และแอตทริบิวต์
  • ลูกหลานที่แตกหน่อจาก XML
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 5 เครื่องมือที่ควรมีไว้ใช้ และ Nokia WAP Toolkit

การพัฒนา WAP Application ย่อมขาดเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นไม่ได้ เนื้อหาบทนี้จึงกล่าวถึงเครื่องมือทั้งหลายว่ามีอะไรบ้าง แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร และจะเน้นไปที่โปรแกรมจำพวก Toolkit เป็นหลัก โดยเฉพาะ Nokia WAP Toolkit 2.0 ซึ่งอธิบายการติดตั้ง และการกำหนดค่า configuration แบบง่ายๆ เพื่อนำมาใช้ทดสอบแอปพลิเคชันต่างๆ ตลอดหนังสือเล่มนี้

  • Toolkit คืออะไร
  • Toolkit ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง
  • WAP Browser ก็มีมากมาย
  • WAP Editor ช่วยเขียน WML
  • มาใช้ Nokia WAP Toolkit 2.0 กันเถอะ
  • มีอะไรใน Nokia WAP Toolkit ให้เล่นบ้าง
  • หน้าต่าง 2 แบบของ Nokia WAP Toolkit
  • จะเลือก Blueprint หรือ Nokia 7110 ดีล่ะ
  • ทดสอบการทำงานก่อนดีไหม
  • เปลี่ยน wml เป็น binary (wmlc)
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 6 ติดตั้ง Apache เพื่อใช้ทดสอบแอปพลิเคชัน

ประเดิมบทนี้ด้วยเรื่องของการติดตั้ง Apache Web Server เพื่อใช้เป็นที่เก็บเอกสาร WAP ต่างๆ จากนั้นจะอธิบายวิธีกำหนดค่า configuration ให้ Apache รู้จักเอกสารตระกูล WAP เหล่านั้น เพื่อจะได้สามารถให้บริการ WAP Site อย่างที่ต้องการ แล้วจึงตบท้ายด้วยการแนะนำไฟล์ชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง WAP Application

  • จำเป็นต้องติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยหรือ ?
  • ทำไมต้องเป็น Apache Web Server ?
  • หาแหล่งดาวน์โหลด Apache แล้วติดตั้งเลย
  • ทดสอบว่า Apache ทำงานจริงหรือเปล่า
  • แนะนำ Apache ให้รู้จักกับ WAP
  • ทดลองเรียกเอกสาร WAP ที่อยู่ใน Apache Web Server
  • เช็กรายชื่อชนิดของไฟล์ในตระกูล WAP
  • ส่งท้ายบท

PART 4 : เริ่มสร้าง WAP Application

บทที่ 7 ย่างก้าวแรกกับภาษา WML

ภาษา WML เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสร้าง WAP Application โดยเฉพาะ ถึงแม้จะเป็นภาษาใหม่ แต่ก็ไม่ได้มีอะไรยากเลย ในบทนี้จะพาไปรู้จักกับภาษา WML เบื้องต้น เสริมด้วยการฝึกเขียน และแสดงตัวอย่างการทำงาน พร้อมคำอธิบาย เมื่อจบบทนี้แล้วผู้อ่านจะรู้สึกว่า WML เป็นภาษาที่เรียนรู้ง่าย และน่าติดตามศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

  • รู้จักกับ "เดค" และ "คาร์ด"
  • โครงสร้างที่ขาดไม่ได้ในเอกสาร WML
  • กำหนดรูปแบบการแสดงข้อความใน WAP
  • อาศัยลิงก์เพื่อเชื่อมโยงเดคกับคาร์ด
  • แสดงข้อมูลแบบตารางเพื่อความเป็นระเบียบ
  • โชว์รูปภาพแบบ WBMP ที่จอโทรศัพท์
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 8 โต้ตอบกับผู้ใช้ผ่านฟอร์มรับข้อมูล

ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันสำหรับเว็บหรือ WAP ก็ตาม สิ่งหนึ่งที่มักพบเสมอคือ การรับข้อมูลจากผู้ใช้หรือ user input ผ่านแบบฟอร์ม ดังนั้นในบทนี้เราจะมาดูว่า แบบฟอร์มที่ใช้ใน WAP เขาเขียนกันอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการประยุกต์ใช้เพื่อสร้าง WAP Application ที่ต้องการให้มีความสามารถในการโต้ตอบกับผู้ใช้

  • พื้นฐานที่ต้องรู้เกี่ยวกับตัวแปร
  • รู้จักกับอิลิเมนต์ < setvar >
  • รับค่าข้อมูลจากผู้ใช้ด้วย < input > และ < select >
  • ลบความจำด้วย newcontext เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญ
  • ส่งข้อมูลไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 9 ทำงานตามเหตุการณ์ ด้วย "อีเวนต์" และ "ทาสก์"

"อีเวนต์" และ "ทาสก์" เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการสร้าง WAP Application เพราะเป็นตัวจัดการเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน เนื้อหาหลักๆ ในบทนี้จึงเน้นเรื่องของอีเวนต์และทาสก์ไปเต็มๆ แล้วจึงเสริมช่วงท้ายๆ ด้วยเรื่องของการใช้เทมเพลต เมื่อผนวกบทนี้ประกอบกับความรู้ใน 2 บทที่ผ่านมา รับรองได้เลยว่า เราเข้าใกล้ที่จะเป็น WAP Developer เข้าไปทุกทีแล้ว

  • อีเวนต์กับทาสก์เสมือนคู่หูที่ขาดกันไม่ได้
  • มีอิลิเมนต์ < do > ต้องมีปุ่มซอฟต์คีย์
  • อีเวนต์หลากหลายกับอิลิเมนต์ < onevent >
  • อาศัย < template > ช่วยให้ทุกคาร์ดใช้อีเวนต์ร่วมกัน
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 10 รวบยอด WML + PHP เพิ่มประสิทธิภาพ+ไดนามิก

บทนี้จะเป็นการแนะแนวทางในการสร้าง WAP Application แบบไดนามิก ด้วยการนำ PHP มาเสริมประสิทธิภาพร่วมกับภาษา WML โดยเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่การติดตั้ง PHP และโปรแกรมฐานข้อมูล MySQL จากนั้นก็จะเป็นการประยุกต์สร้าง WAP Application อย่างง่ายๆ โดยการดึงข้อมูลจาก text file และ MySQL แล้วจึงปิดท้ายด้วยการพัฒนาระบบส่งอีเมลผ่าน WAP ที่ไม่ซับซ้อน

  • ติดตั้ง PHP ให้เวิร์กร่วมกับ Apache ก่อน
  • แล้วทดสอบ PHP ให้ชัวร์ว่าใช้ได้แล้วจริง
  • ต่อด้วยการติดตั้ง MySQL ไว้ล่วงหน้า
  • ลองสร้างแอปพลิเคชันแรกด้วย WML + PHP ทันที
  • ประยุกต์ใช้ดึงข้อมูลจากไฟล์ข้อความ
  • ดึงข้อมูลจาก MySQL เป็นวิธีที่เหนือกว่า
  • ค้นหาข้อมูลในไฟล์ข้อความมาแสดงใน WAP
  • ส่งอีเมลผ่าน WAP… ไม่ยาก และไม่ง่าย
  • ระบบอีเมลครบวงจรต้องใช้ศาสตร์ผสมศิลป์
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 11 อีกก้าวของไดนามิก คือ WML + WMLScript

ภาษา WMLScript เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา WAP Application แบบไดนามิก เปรียบเสมือน JavaScript หรือ VBScript ซึ่งเป็นตัวเลือกในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เนื้อหาในบทนี้จะเริ่มตั้งแต่แนะนำว่า WMLScript คืออะไร มีรูปแบบการใช้งานอย่างไร ไปจนถึงฟังก์ชันต่างๆ ที่อยู่ในไลบรารีพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นหัวใจของการใช้ WMLScript ก็ว่าได้

  • เริ่มต้นที่ฟังก์ชัน-ตัวแปร-ไบต์โค้ด
  • รูปแบบการใช้งาน WMLScript เป็นอย่างไร
  • ศูนย์รวมฟังก์ชันมาตรฐานอยู่ที่ไลบรารี
  • ไลบรารี WMLBrowser เพื่อจัดการ WML context
  • ไลบรารี Dialogs เพื่อสร้างไดอะล็อกบ็อกซ์หลายลักษณะ
  • ไลบรารี Float รวมฟังก์ชันเพื่อเลขทศนิยม
  • ไลบรารี Strings เพื่อจัดการสตริงโดยเฉพาะ
  • ไลบรารี Lang รวมสารพัดฟังก์ชันจิปาถะ
  • ไลบรารี URL รวมฟังก์ชันเพื่อตรวจสอบ URL
  • ส่งท้ายบท

PART 5 : เทคนิคน่าสนใจ

บทที่ 12 ตามล่าหาความจริงจาก WAP Gateway

การทดลองเกี่ยวกับ WAP Gateway มีหลากหลายแง่มุมอยู่ในบทนี้ โดยอ้างอิงถึงความรู้เชิงทฤษฎีในบทที่ 3 เพื่อพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ และแน่นอนว่าเมื่อผ่านบทนี้แล้ว จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของ WAP Gateway ดียิ่งขึ้น แถมตอนท้ายยังแนะนำแหล่งดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ WAP Gateway ซึ่งเป็นที่นิยมให้อีกด้วย

  • แปลงพีซีให้เป็น WAP Gateway
  • ตั้งค่าให้เบราเซอร์/อีมูเลเตอร์เรียกผ่าน WAP Gateway
  • ถึงคราวท้าพิสูจน์ให้ประจักษ์
  • เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการส่งข้อมูลด้วย POST และ GET
  • แนะนำ WAP Gateway อื่นๆ บ้าง
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 13 ผสานเว็บไซต์กับ WAP Site ให้เป็นหนึ่งเดียว

เมื่อต้องการให้ http://www.mysite.com เป็นได้ทั้งเว็บไซต์และ WAP Site นั่นคือ สามารถเปิดดูได้ทั้งเว็บเบราเซอร์และ WAP Browser (ทั้งในโทรศัพท์มือถือและในเครื่องพีซี) โดยไม่ต้องระบุชื่อไฟล์ว่า index.html หรือ index.wml จะทำอย่างไร และเรามีวิธีแก้ปัญหาข้อจำกัดที่แตกต่างกันของ WAP Browser แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อได้อย่างไร บทนี้มีคำตอบเรียบร้อยแล้ว พร้อมกุญแจสำคัญ คือ PHP และ Perl

  • ธรรมชาติของเว็บเซิร์ฟเวอร์
  • กำหนดให้ index.wml เป็นค่า default ได้อย่างไร
  • แก้ไข .htaccess เพื่อให้ index.wml เป็นค่า default
  • สร้างไซต์ที่เป็นทั้งเว็บไซต์และ WAP Site
  • มาตรวจสอบตัวแปร HTTP_ACCEPT และ HTTP_USER_AGENT กันหน่อย
  • ควบคุม WAP Site ตามชนิดของ WAP Browser
  • ยังมีเทคนิคอื่นๆ อีกเพียบ
  • ประสบการณ์จาก virtualave.net
  • ส่งท้ายบท

PART 6 : ภาคผนวก

ภาคผนวก ก WML brief reference

  • เดคและคาร์ด (deck & card)
  • timer
  • ตัวแปร (variables)
  • ลิงก์แบบข้อความ (link)
  • อีเวต์ (event)
  • ทาสก์ (task)
  • รูปภาพ (image)
  • การรับค่าจากผู้ใช้ (user input)
  • การจัดรูปแบบข้อความ (text formatting)
  • อักขระพิเศษ (special characters)

ภาคผนวก ข WMLScript brief reference

  • ไลบรารี WMLBrowser
  • ไลบรารี Dialogs
  • ไลบรารี Float
  • ไลบรารี Lang
  • ไลบรารี String
  • ไลบรารี URL

ภาคผนวก ค จาก WAP 1.2 สู่ WAP 2.0

  • WAP 1.2
  • WAP 1.3
  • WAP 2.0

ภาคผนวก ง รู้จักกับ I-Mode และ Bluetooth

  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ I-Mode
  • Bluetooth เชื่อมโยงอุปกรณ์ด้วยการสื่อสารแบบไร้สาย

ดัชนี