เริ่มคิด-เริ่มสร้าง-เริ่มใช้ XML 2nd edition

ผู้เขียน: สราวุธ อ้อยศรีสกุล
ISBN: 978-974-04-9148-4
จำนวนหน้า: 512 หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 x 2.8 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 345 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 300 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


ปรับปรุงเนื้อหาใหม่หมดจากหนังสือ "เริ่มคิด-เริ่มสร้าง-เริ่มใช้ XML"

ตีแผ่มาตรฐานและการประยุกต์ใช้ร่วมกับ AJAX และ RSS

    ครอบคลุมทุกประเด็นของ XML เริ่มตั้งแต่...
  • วางโครงสร้างเอกสารด้วย DTD, XML Schema
  • กำหนดรูปแบบการแสดงผลด้วย XSLT/XPath
  • รู้จัก API พื้นฐาน ทั้ง DOM และ SAX
  • XQuery ภาษาสืบค้นข้อมูล XML ในสไตล์ภาษา SQL ที่คุณคุ้นเคย
  • เปิดโลก Web 2.0 ด้วย AJAX และ RSS feed พร้อมการประยุกต์ใช้
  • ฟรี ! ดาวน์โหลดซอร์ซโค้ดตัวอย่างในหนังสือได้จากเว็บไซต์
  • บวกโบนัสพิเศษ ! ดาวน์โหลดแนวข้อสอบ XML ทั้งแบบปรนัยและอัตนัย พร้อมเฉลย

หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง

  • นักเรียน นิสิต นักศึกษาในสายไอที เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ , เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ
  • โปรแกรมเมอร์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือผู้ที่ทำงานทางด้านไอที

ควรมีความรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่าน

  • มีความรู้เกี่ยวกับภาษา HTML
  • มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม
  • ถ้าเคยเขียนสคริปต์ภาษา JavaScript มาบ้าง จะช่วยให้เข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น

จะทดลองปฏิบัติตามตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ต้องมีอะไรในเครื่องพีซีบ้าง

  • โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ IE หรือจะแถม Firefox ด้วยก็ได้
  • โปรแกรม Altova XML Spy และ Altova XML 2007 (ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.altova.com)
  • โปรแกรม AppServ (ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.appservnetwork.com)


บทที่ 1 เปิดโลก XML

เปิดโลกทัศน์สู่เทคโนโลยีที่ร้อนแรงแห่งทศวรรษ ตามรอยวิวัฒนาการ, ลักษณะการนำไปใช้, ทำไมเราต้องเข้าไปเรียนรู้, ประโยชน์ที่เราจะได้รับ, มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนตัวอย่างการพัฒนางานจริงในประเทศไทย เพื่อพิสูจน์ความเป็นเลิศอย่างแท้จริง เพราะนี่คือ... XML

  • ต้นกำเนิดของภาษาในเว็บคือ markup
  • เริ่มจากภาษา GML เป็นรุ่นแรก
  • การยกระดับเป็น SGML เพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากล
  • ภาษา HTML เพื่อการสร้างเว็บอย่างเดียว...จริงๆ
  • จุดเด่นของ XML คือการนิยามข้อมูล
  • XML คือภาษาที่ใช้นิยามข้อมูล
  • XML เป็นมากกว่าการพัฒนาเว็บไซต์
  • ประโยชน์ของ XML อยู่ที่ไหน ?
  • เอกสาร XML จะมาจากไหน ?
  • XML มีการใช้แล้วในประเทศไทย
  • วงศาคณาญาติของ XML คือ XML Vocabulary
  • XML Parser คือตัวแปลความหมายของ XML
  • ดู XML ผ่านเว็บเบราเซอร์
  • มาตรฐานเกี่ยวกับ XML ที่ควรรู้
  • กว่าจะเป็นมาตรฐานของ W3C
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 2 สร้าง XML ให้ถูกแบบแผน ต้องแม่นกฎพื้นฐาน

เอกสาร XML จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ well-formedness อย่างขาดเสียมิได้ เราจะมาดูว่าทำอย่างไรเอกสาร XML ถึงจะเป็น well-formed XML และโครงสร้างเอกสาร XML แบบเต็มๆประกอบไปด้วยอะไรบ้าง รวมถึงการใช้ภาษาไทยใน XML ต้องทำอย่างไร ตบท้ายด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ช่วยในการตัดสินใจว่า จะใช้อิลิเมนต์หรือใช้แอตทริบิวต์ในการเก็บข้อมูล สำหรับเอกสาร XML

  • กฎเกณฑ์เบื้องต้นว่าด้วยเรื่องของอิลิเมนต์
  • ปอกเปลือกโครงสร้าง XML
  • ใช้ XML Declaration ประกาศความเป็น XML
  • ภาษาไทยกับแอตทริบิวต์ encoding
  • บอกประเภทของเอกสารไว้ที่ Document Type Declaration
  • เพิ่มคอมเมนต์ในเอกสาร XML
  • แทรกส่วนประมวลผลด้วย Processing Instruction
  • CDATA ... พื้นที่พิเศษที่ XML Parser ไม่ประมวลผล
  • ใช้อะไรกับข้อมูลดีเอ่ย ? อิลิเมนต์หรือแอตทริบิวต์ ?
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 3 วางโครงสร้างเอกสารด้วยวิธีดั้งเดิม คือ DTD

บทนี้จะพาไปรู้จักวิธีกำหนดโครงสร้างหรือ schema ของเอกสาร XML ด้วยการใช้ DTD ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและมีมานานแล้ว เพราะตกทอดมาจากภาษา SGML โดยเราจะเจาะลึกไวยากรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้บ่งบอกว่า เอกสาร XML มีโครงสร้างอย่างไร, มีอิลิเมนต์อะไรบ้าง, มีแอตทริบิวต์อะไรบ้าง รวมไปถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ

  • ความจริงที่ต้องยอมรับเกี่ยวกับ DTD
  • ลักษณะของเอกสาร DTD
  • ประกาศ DTD ในเอกสาร XML
  • อิลิเมนต์มี 4 แบบ
  • รู้แค่ 3 อย่างก็สร้าง DTD ได้แล้ว
  • Parameter Entity ใช้อ้างอิงถึงสิ่งที่ใช้บ่อยๆ ภายใน DTD
  • อย่าคาดหวังกับ IE ถ้าจะเล่นกับ DTD
  • วิธีตรวจสอบความถูกต้องของ DTD
  • ข้อจำกัดที่ไม่อาจมองข้าม
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 4 เหนือกว่า DTD ยังมี XML Schema

นอกจากการกำหนดโครงสร้างของเอกสาร XML ด้วยวิธี DTD แล้วยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ XML Schema ซึ่งมีข้อดีกว่า DTD มากมาย และที่สำคัญยังยึดหลักไวยากรณ์ของ XML ด้วย เราจะไปดูรายละเอียดเหล่านี้กันว่าเป็นอย่างไร และตอนท้ายบทจะแนะนำ XML Schema ของไมโครซอฟต์ ซึ่งมีชื่อว่า XDR

  • ข้อดีของ XML Schema ที่เหนือกว่า DTD
  • รูปลักษณ์หน้าตาของ XML Schema
  • Simple Type และแบบ Complex Type
  • ชนิดข้อมูลที่เป็นแบบ Simple Type
  • สร้าง Simple Type ของตัวเองด้วย facet
  • อิลิเมนต์แบบ Complex Type จะประกาศอย่างไร ?
  • ไขข้อข้องใจ อะไรคือเนมสเปซ ?
  • เข้าใจ XML Schema ให้ลึกยิ่งขึ้นจากกรณีศึกษาของจริง
  • อิลิเมนต์ annotation ใช้แสดงคอมเมนต์
  • พิจารณาอย่างไรว่าเป็น Simple Type หรือ Complex Type
  • เรียงลำดับด้วย sequence และกำหนดให้เลือกตัวใดตัวหนึ่งด้วย choice
  • ใช้อิลิเมนต์แบบ global เพื่อลดความซ้ำซ้อน
  • กำหนดจำนวนอิลิเมนต์ด้วย minOccurs และ MaxOccurs
  • อีกทางเลือกหนึ่งของการประกาศอิลิเมนต์
  • ประกาศแอตทริบิวต์ยิ่งหวานหมู
  • XDR แฝดคนละฝาของ XML Schema
  • XML Parser ที่รองรับ XML Schema
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 5 Altova XML เครื่องมือช่วยงาน XML

บทนี้ผมขอแนะนำซอฟต์แวร์จากค่าย Altova ที่มีคุณประโยชน์อย่างมากในการสร้างและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร XML ก็คือ Altova XML Spy และ Altova XML 2007 โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคุณสมบัติ well-formednesss และ validity ของเอกสาร XML รวมทั้งความสามารถที่ผมทึ่งที่สุด คือการ convert ไปมาระหว่างเอกสาร DTD และ XML Schema

  • จะหา Altova XML Spy มาใช้งานได้อย่างไร ?
  • เริ่มต้นใช้โปรแกรม XML Spy
  • เปลี่ยนจาก XML Schema ไปเป็น DTD ได้ง่ายๆ
  • แปลง DTD เป็น XML Schema ก็ไม่ยาก แต่...
  • Altova XML 2007 ของฟรีที่มีดีเกินตัว
  • ตรวจคุณสมบัติ well-formedness ผ่านคอมมานด์ไลน์ด้วย Altova XML 2007
  • ตรวจสอบคุณสมบัติ valid ผ่านคอมมานด์ไลน์ด้วย Altova XML 2007
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 6 แสดงผลทางเบราเซอร์โดยใช้ CSS

ขยับเข้าสู่เรื่องของการนำเอกสาร XML มาแสดงผลทางเบราเซอร์ให้เรียบร้อยสวยงามบ้าง วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การใช้ CSS ในบทนี้เราเริ่มต้นโดยทบทวนการใช้ CSS ใน HTML ก่อน หลังจากนั้นจึงก้าวไปถึงการใช้ CSS เพื่อกำหนดการแสดงผลเอกสาร XML ผ่านเว็บเบราเซอร์

  • ย้อนรำลึก HTML+CSS
  • สืบทอดคุณลักษณะจากสไตล์ชีต โดยอาศัย inheritance
  • ป้องกัน Inheritance ด้วย override
  • ใช้ contextual selector เพื่อประกาศสไตล์ชีตแบบเจาะจง
  • หลักการง่ายๆ ของ XML+CSS
  • inline style
  • CSS ง่ายก็จริง...แต่ไม่ได้ดังใจ
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 7 XSLT และ XQuery สองภาษาสืบค้นสำหรับ XML

องค์กร W3C กำหนดมาตรฐานสำหรับสืบค้นเอกสาร XML ไว้ 2 มาตรฐาน คือ XSLT และ XQuery ซึ่งได้รับการพัฒนามาคนละแนวทาง โดย XSLT เน้นการนำข้อมูลมาแสดงผล ส่วน XQuery เน้นที่การสืบค้นข้อมูล XML ที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล ในบทนี้เราจะมาดูแนวคิดและหลักการพื้นฐานของภาษาสืบค้นทั้ง 2 มาตรฐานนี้

  • XSLT สไตล์ชีตที่ใช้ไวยากรณ์ของ XML
  • เปรียบเทียบตัวต่อตัว CSS กับ XSLT
  • XSLT ไม่ได้อยู่ในเบราเซอร์เท่านั้น
  • XSLT จาก W3C และไมโครซอฟต์ (อีกแล้ว) !?!
  • เข้าใจหลักการทำงานของ XSLT ไม่ยากเลย
  • XQuery สืบค้นเอกสาร XML ในสไตล์ SQL
  • คุณลักษณะของภาษา XQuery
  • หัวใจของการสืบค้นด้วย XQuery คือ FLWOR
  • ฐานข้อมูลชั้นนำ ล้วนสนับสนุน XQuery
  • ซอฟต์แวร์ที่สนับสนุน XQuery
  • ใช้อะไรดี XSLT หรือ XQuery ?
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 8 XSLT ภาคหนึ่ง : สไตล์ชีตสไตล์ XML

บทนี้จะอธิบายถึงการนำเอกสาร XML ไปแสดงผลผ่านทางเว็บเบราเซอร์ โดยอิงหลักไวยากรณ์ XSLT ของ W3C ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อเป็นสไตล์ชีตของ XML โดยเฉพาะ เราจะได้เห็นความสามารถที่เหนือกว่า CSS อย่างชัดเจน และตอนท้ายบทจะแถมเทคนิคการนำ CSS ไปช่วยเพิ่มความสามารถให้แก่ XSLT ในการแสดงผลด้วย

  • IE มีตัวแปล XSLT ฝังไว้อยู่แล้ว
  • แทรก XSLT ใน XML ได้อย่างไร ?
  • XSLT แรกของเรา
  • XSLT และการเรียกใช้งาน template ย่อย
  • call-template อีกหนึ่งทางเลือกในการแบ่งงาน
  • สรุปข้อแตกต่างระหว่างอิลิเมนต์ apply-templates และอิลิเมนต์ call-template
  • เข้าถึงส่วนต่างๆในเอกสารโดย XPath
  • อีกหลายคำสั่งใน XML ที่ควรทราบ
  • การตัดสินใจแบบให้เลือก 2 กรณีด้วย xsl:if
  • ตัดสินใจแบบหลายทางเลือก โดยใช้ choose, when และ otherwise
  • เรียงลำดับข้อมูลด้วยคำสั่ง sort
  • คำสั่ง number แสดงลำดับเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร
  • แต่งศิลป์ให้เว็บสวย ด้วย XSLT+CSS
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 9 XSLT ภาคสอง : ตัวแปร, พารามิเตอร์ และเทคนิคการสร้าง template

หลักสูตรด้านเว็บเทคโนโลยีในสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สอนเรื่อง XML มักจะมองข้ามเรื่องของตัวแปรและพารามิเตอร์ ไม่พูดถึงมากนัก แต่ผมรู้สึกว่าทั้ง 2 เรื่องมีประโยชน์ในการใช้งานจริงมากพอสมควร และยังมีการออกสอบในข้อสอบ certify ต่างๆ เสมอๆ จึงต้องขออนุญาตนำมาฝากกัน

  • ใช้ variable เพื่อประกาศค่าตัวแปร
  • ใช้ param แทน variable ก็พอได้
  • ใช้อิลิเมนต์ param กำหนดค่าเริ่มต้น และใช้อิลิเมนต์ with-param ส่งค่าไปใน template
  • อธิบายการส่งพารามิเตอร์
  • อธิบายโครงสร้าง template
  • การเขียน XSLT เป็นเรื่องของจินตนาการในการสร้าง template ย่อย
  • รูปแบบการนำเสนอเปลี่ยนไป template ก็ต้องเปลี่ยนตาม
  • สร้างแอตทริบิวต์ให้อิลิเมนต์ด้วย xsl:attribute
  • ง่ายกว่า ถ้าใช้เทคนิค Attribute Value Templates
  • ดึงข้อความจากอิลิเมนต์แบบ mixed content ต้องอาศัยฟังก์ชัน text()
  • เพิ่มความฉลาดให้ XSLT ด้วย Built-in function
  • สุดยอดเว็บไซต์ ช่วยให้เขียน XSLT ได้ง่ายขึ้น
  • XSLT ที่ใช้งานจริง ต้องอาศัย DOM
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 10 DOM และ SAX สองวิธีดึงข้อมูล XML

การแปลเอกสาร XML ต้องอาศัยโปรแกรม XML Parser ซึ่งโปรแกรมจำพวกนี้มีวิธีการดึงข้อมูลจากเอกสาร XML หลายวิธี แต่ที่นิยมกันมาก มี 2 วิธี คือ DOM และ SAX ในบทนี้จะแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักวิธีการทั้งสอง รวมทั้งเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้เห็นจะจะ เพื่อจะได้เป็นข้อพิจารณาตัดสินใจประยุกต์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

  • DOM มอง XML ในลักษณะโครงสร้างต้นไม้
  • DOM ยังมีข้อจำกัด
  • SAX จัดการ XML ด้วยแนวทาง Event-Driven Parser
  • ใช้เหตุผลอะไรในการตัดสินใจเลือก DOM และ SAX
  • เหตุผลที่เลือก DOM
  • เหตุผลที่เลือก SAX
  • MSXML หนุนหลัง DOM แต่ไม่สนับสนุน SAX
  • โชว์ตัวอย่างโปรแกรมอ่านเอกสาร XML ทั้งวิธี DOM และ SAX แถมท้าย
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 11 เขียนสคริปต์ทำงานกับ DOM ในเบราเซอร์

DOM เป็น API สำหรับจัดการเอกสาร XML ที่ได้รับความนิยมมาก ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มข้อมูลใหม่, ลบข้อมูลเดิม, แก้ไขข้อมูล ฯลฯ โปรแกรม IE ของไมโครซอฟต์ตั้งแต่เวอร์ชัน 5.0 ขึ้นไป และเบราเซอร์ชื่อดังส่วนใหญ่รวมทั้ง Firefox ได้ผนวก DOM ไว้ในโปรแกรม XML Parser ที่ฝังอยู่ในเบราเซอร์ ด้วย ดังนั้นในบทนี้เราจะมาดูวิธีการเขียนสคริปต์เพื่อจัดการเอกสาร XML ผ่าน DOM

  • เขียนสคริปต์ทำงานกับ DOM หมายความว่าอย่างไร ?
  • สองวิธีโหลดเอกสาร XML มาพักไว้ในหน่วยความจำ
  • วิธีที่หนึ่ง ใช้คลาส Microsoft.XMLDOM
  • วิธีที่สอง เรียกว่า XML Data Island
  • การโหลดเอกสาร XML ทั้งสองวิธีล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน
  • จัดการทั้งเอกสารด้วยอ็อบเจ็กต์ Document
  • ท่องไปตามโหนดต่างๆ ด้วยอ็อบเจ็กต์ Node
  • อ็อบเจ็กต์ Nodelist ใช้ระบุตำแหน่งลำดับที่ของโหนด
  • ตีแผ่เมธอด getElementByTagName() เพื่อการนำไปใช้
  • ใช้ไลบรารี zXML แก้ปัญหาความแตกต่างของเบราเซอร์
  • แก่นแท้ของการใช้งานบนฝั่งเบราเซอร์ คือ DOM + XML + XSLT
  • transformNode() และ transformToFragment()
  • ใช้ DOM + XML + XSLT ในทุกเบราเซอร์ ด้วยไลบรารี zXML
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 12 เริ่มคิด-เริ่มใช้ AJAX

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่เราชาวเว็บเรียกกันว่าเป็นยุคแห่ง Web 2.0 ซึ่งความน่าตื่นเต้นของมันก็คือว่าเว็บเริ่มมีความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ และหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้เปิดศักราชแห่งความน่าตื่นเต้นของเว็บที่เราใช้อยู่กันทุกวันนี้ก็คือ AJAX บทนี้เราจะได้เรียนรู้ว่า AJAX คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และเหตุใดเราจึงต้องมาเริ่มคิด-เริ่มใช้ AJAX

  • ตื่นตาตื่นใจกับเว็บไซต์ที่ใช้ AJAX
  • ตัวอย่างการนำ AJAX มาใช้ในเว็บไซต์ของเรา
  • ผ่ากลไกการทำงานของ AJAX
  • เริ่มลอง AJAX
  • สิ่งที่ควรรู้ในการพัฒนาเว็บด้วย AJAX
  • ข้อดี-ข้อด้อยของ AJAX
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 13 เขียน AJAX อ่าน RSS feed โดยใช้ DOM และ XSLT

เพื่อเป็นการผสมผสานความรู้ด้าน XML ในหนังสือเล่มนี้มาประยุกต์ใช้งานจริง เราจะทดลองนำข่าวสารในรูป RSS มาแสดงทางเว็บเบราเซอร์ด้วยเทคนิค AJAX โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับ DOM และ XSLT เริ่มจากการแนะนำว่าข่าวสาร RSS คืออะไร จากนั้นจะแสดงการใช้เทคนิค AJAX เพื่อโหลด RSS จากเว็บไซต์อื่นๆ มาแสดงทางเว็บไซต์ของเรา ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษมาช่วยเสริมด้วย

  • RSS - คือผลิตผลของ XML
  • RSS ย่อมาจากอะไร ?
  • ที่ใดมีสัญลักษณ์ XML หรือ RSS สีส้ม...ที่นั่นมี RSS feed
  • หา Aggregator คู่ใจไว้ใช้งาน
  • จะจะ กับ RSS 1.0 และ 2.0
  • Atom คู่ปรับของ RSS
  • หลากวิธีในการเขียนโปรแกรมดึงข้อมูล RSS มาแสดงบนเว็บ
  • ใช้ AJAX ดึง RSS feed จากเว็บอื่นมาแสดง แต่...
  • ร้องขอไฟล์ข้ามเว็บเซิร์ฟเวอร์ (cross-domain)
  • สร้างตัวกลาง หรือ proxy เพื่อร้องขอ RSS feed
  • ตีแผ่ไฟล์ rss_reader.html และ proxy.php
  • รวมพลัง DOM+XSLT แสดงผล RSS feed
  • ทางเลือกอื่นๆในการแก้ปัญหาในการร้องขอ RSS feed แบบ cross-domain
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 14 พื้นฐาน XQuery เพื่อสืบค้นข้อมูล XML ในสไตล์ SQL

บทสุดท้ายนี้เป็นภาคต่อจากบทที่ 7 ที่ได้เกริ่นนำเรื่องการสืบค้นด้วย XQuery มาแล้ว มาในบทนี้เราจะเข้าไปดูไวยากรณ์พื้นฐานของ XQuery ที่จำเป็นต่อการใช้งาน ซึ่งในตัวอย่างข้อสอบแบบอัตนัยภาค 2 (ที่ผมเตรียมไว้ให้ดาวน์โหลด) มีโจทย์เรื่อง XQuery เพื่อทดสอบความเข้าใจด้วย

  • การโหลดข้อมูล XML ด้วยฟังก์ชัน doc()
  • XPath ใน XQuery เข้าใจได้ไม่ยาก
  • คำสั่ง FLWOR เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ
  • การใช้คำสั่ง for และ let
  • เข้าใจคำสั่ง let ให้ทะลุปรุโปร่ง
  • คำสั่ง where ใช้กำหนดเงื่อนไข
  • พลิกแพลงการแสดงผลด้วยคำสั่ง return
  • ข้อควรระวังในการใช้คำสั่ง order by
  • ใช้คำสั่ง at ในคำสั่ง for เพื่อแสดงลำดับของโหนด
  • ฟังก์ชัน distinct-value() เพื่อดึงรายการโหนดออกมาแบบไม่ให้ซ้ำกัน
  • พลิกแพลง FLWOR เพื่อการค้นหาซับซ้อนยิ่งขึ้น
  • เทคนิคการสืบค้นจากเอกสาร XML มากกว่า 1 เอกสาร
  • กำหนดเงื่อนไขด้วย if...then...else
  • ใช้การ Casting เพื่อเปลี่ยนชนิดของข้อมูล
  • กฎของเครื่องหมายเท่ากับ (=) คือ เพียงหนึ่งค่าตรงเงื่อนไข ก็ให้ค่าจริงทันที
  • แหล่งรวม Built-in function ที่ควรรู้
  • ส่งท้ายบท

ภาคผนวก จำลองเครื่องพีซีเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อรัน AJAX และ PHP

เนื่องจากเทคนิค AJAX ที่อธิบายในบทที่ 12 และ 13 ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะในบทที่ 13 ที่มีการใช้ไฟล์ proxy เพื่อเป็นตัวกลางร้องขอข้อมูล RSS feed จากเว็บไซต์อื่นๆ ผมจึงขอแนะนำวิธีการจำลองเครื่องพีซีเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อรัน AJAX และ PHP ตามตัวอย่างในบทที่ 12 และ 13 ได้อย่างสมบูรณ์

  • ตามหาและติดตั้ง AppServ
  • บอกให้ Apache รู้จักไดเรกทอรีที่เก็บไฟล์ของเรา